รายงานการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วนในประเด็นผลกระทบทางผลกระทบเชิงเศรษฐกิจของภาษีสรรพสามิตต่อ
การปลูกยาสูบ ทั้งนี้จากมุมมองทางมหภาค การเพิ่มขึ้นของราคาขายปลีกบุหรี่ในประเทศทำให้เกิดความ
เสียหายต่อความต้องการใบยาสูบภายในประเทศ พื้นที่เพาะปลูกยาสูบ และการใช้แรงงานในการทำยาสูบ
มากน้อยอย่างไร ถูกจำลองสถานการณ์โดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติกับชุดข้อมูลทุติยภูมิ หลักฐานเชิง
ประจักษ์ของผลการจำลองสถานการณ์ของประเทศไทยสามารถบอกเป็นนัยว่า แม้เครื่องมือภาษีสรรพสามิต
จะเป็นประโยชน์ต่อนโยบายการควบคุมยาสูบ อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงต่ออุปทานหรือชาวไร่ยาสูบเป็นสิ่งที่
ควรตระหนัก สำหรับมุมมองทางจุลภาคนั้น การปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตของไทยในเดือนกันยายน
2560 สร้างความเสียหายกับรายได้ครัวเรือนของชาวไร่ยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย พันธุ์เบอร์เลย์ พันธุ์เตอร์กิซ และ
ยาสูบพันธุ์พื้นเมืองของไทยมากน้อยอย่างไร ถูกวิเคราะห์โดยใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 ช่วงเวลา (ปี
เพาะปลูก 2560/2561 และ 2561/2562) กับชุดข้อมูลปฐมภูมิ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวไร่ยาสูบ
พันธุ์เวอร์จิเนีย พันธุ์เบอร์เลย์ และพันธุ์เตอร์กิซในกรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัด
ร้อยเอ็ด ตามลำดับ ที่ขายใบยาสูบให้กับการยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.) เท่านั้น และกลุ่มตัวอย่างของ
ชาวไร่ยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์ ซึ่งขายใบยาสูบให้กับ ยสท. และบริษัทส่งออก และ/หรือพ่อค้าคนกลาง มีรายได้
ของครัวเรือนลดลงในปีเพาะปลูก 2561/2562 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 ดังนั้นการจัดตั้งของ
กองทุนชุมชนยาสูบแห่งชาติในประเทศไทยควรเป็นทางเลือกในการจัดการประเด็นดังกล่าว นอกจากนี้
วัตถุประสงค์หลักอีกประการหนึ่งของกองทุน คือ การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนสำหรับพืชทางเลือกทดแทนใบ
ยาสูบอย่างเป็นรูปธรรม
The research report comprises two parts in line with the issues of economic impacts of excise
taxes on tobacco farming. As a macro perspective, how much the increasing in the retail price
of domestic cigarettes damages for domestic demand for tobacco leaf, area planted to
tobacco, and labor use in tobacco farming is simulated by using the econometric model with
the secondary data set. The empirical evidence of Thailand’s simulation results can be implied
that although the excise tax instrument has been beneficial for tobacco control policy, its
supply-side effect is supposed to be realized. As a micro perspective, how much improvement
of Thailand’s excise tax structure in September 2017 damages for a household income of
Virginia, Burley, Turkish, and Thai Traditional tobacco farmer are analyzed by using comparison
of two means (the crop year 2017/2018 and 2018/2019) with the primary data set. The results
reveal that sample groups of Virginia, Burley, and Turkish tobacco farmer in a case study of
Chiang Rai, Phetchabun, and Roi Et province, respectively, who sell their tobacco leaf to the
only Tobacco Authority of Thailand (TOAT) as well as the sample groups of Burley tobacco
farmer who sell their tobacco leaf to TOAT, export company, and/or middleman have lower
household incomes in the crop year 2018/2019 with statistically significant at 0.05 levels.
Therefore, the National Tobacco Community Trust Fund in Thailand is supposed to be an
option to manage such issues. In addition, a main purpose of the fund is to promote concretely
the community enterprise for the alternative crops to tobacco.