การจัดประเภทให้ประเทศไทยเป็นประเทศขนาดเล็กและประเทศสหรัฐอเมริกาเป็น
ประเทศขนาดใหญ่ ซึ่งข้อมูลจริงเปิดเผยให้เห็นความแตกต่างที่โดดเด่นด้านวัฏจักรธุรกิจ กล่าวคือ
ความผันผวนของวัฏจักรผลผลิตจะสูงกว่าในประเทศที่มีขนาดเล็ก งานวิจัยค้นคว้าหาเหตุผลของ
ความผันผวนดังกล่าว โดยใช้แบบจำลองวัฏจักรธุรกิจที่แท้จริง 2 ประเทศ ซึ่งนักวางแผนทางสังคม
(Social planner) เผชิญกับประเทศที่มีขนาดแตกต่างกัน หลังจากที่ดำเนินการกำหนดค่าพารามิเตอร์
และจำลองสถานการณ์ พบว่าเศรษฐกิจที่จำลองขึ้นนั้นค่อนข้างสอดคล้องกับข้อมูลจริงในมิติที่สำคัญ ๆ
เมื่อทำการทดลองโดยกำหนดให้แทนค่าพารามิเตอร์ท่แี สดงถึงขนาดประเทศของสหรัฐอเมริกาลงใน
พารามิเตอร์ของไทย ผลการจำลองสถานการณ์พบว่าความผันผวนของวัฏจักรธุรกิจในประเทศไทย
สูงกว่า เนื่องจากความแปรปรวนของการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทางเทคโนโลยี
Categorizing Thailand as small country and the United States as large, the stylized fact
reveals a striking difference: The fluctuation of aggregate cycle is higher in the small country.
The research explores the reasons for this volatility using a two-country real business cycle
model, where the social planner faces with the different country sizes. After parameterization
and replication are performed, the benchmark economy roughly conforms to the stylized
fact in important dimensions. In the experiment, the country size parameters of the United
States are replaced on the parameter of Thailand. As the simulation results, the higher
fluctuation of Thailand’s aggregate cycle is almost totally attributable to the high variance
of the shocks.