dc.contributor.author |
กรรณงค์ ยืนยงชัยวัฒน์ |
|
dc.contributor.author |
รัมภา บุญสินสุข |
|
dc.date.accessioned |
2022-05-30T14:48:53Z |
|
dc.date.available |
2022-05-30T14:48:53Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/208856 |
|
dc.identifier.uri |
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/21594 |
|
dc.description.abstract |
ที่มาและความสำคัญ: แบบประเมิน Mini-Balance Evaluation System Test (Mini-BESTest) เป็นแบบประเมินการทรงตัวทางคลินิกที่มีความแม่นยำในการประเมินความเสี่ยงในการล้มของผู้สูงอายุ แต่แบบประเมินนี้ยังไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย
วัตถุประสงค์: เพื่อแปลแบบประเมิน Mini-BESTest เป็นภาษาไทย (Mini-BESTest-Thai) และทดสอบความเที่ยงภายในและระหว่างผู้ประเมิน และความตรงของแบบประเมิน Mini-BESTest-Thai ในผู้สูงอายุ
วิธีการวิจัย: แปลแบบประเมินด้วยวิธี forward-backward translation แล้วทดสอบความเที่ยงและความตรงในผู้สูงอายุไทยอายุ 60-80 ปี จำนวน 30 คน ในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก โดยผู้ทดสอบทำการทดสอบอาสาสมัครด้วย Mini-BESTest-Thai ร่วมกับบันทึกวิดีโอ และมีผู้ประเมิน 2 คน ประเมินจากวิดีโอ และประเมินซ้ำใน 1 สัปดาห์ถัดมา คะแนนจากการประเมินถูกนำไปวิเคราะห์ความเที่ยงด้วยสถิติ Intraclass correlation coefficient (ICC) อาสาสมัครยังถูกทดสอบด้วยแบบประเมิน Berg Balance Scale (BBS) และ Timed Up and Go test (TUG) เพื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบความตรงเชิงสภาพกับแบบประเมิน Mini-BESTest-Thai ด้วยสถิติ Pearson correlation coefficient
ผลการวิจัย: แบบประเมิน Mini-BESTest-Thai มีความเที่ยงภายในผู้ประเมิน (ICC = 0.972 ถึง 0.982) และระหว่างผู้ประเมิน (ICC = 0.944) อยู่ในระดับดีมาก มีความสัมพันธ์กับ BBS อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.645, p < 0.001) และมีความสัมพันธ์กับ TUG อยู่ในระดับต่ำ (r = -0.497, p < 0.01) รวมทั้ง Bland Altman plot พบว่าค่าเฉลี่ยความแตกต่างของการประเมินซ้ำเท่ากับ 0 ถึง 0.1 คะแนน และค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่างผู้ประเมินเท่ากับ 0.2 คะแนน
สรุปผล: แบบประเมิน Mini-BESTest-Thai เป็นแบบประเมินที่มีความเที่ยงและความตรงในการวัดความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ
Background:The Mini-Balance Evaluation System Test (Mini-BESTest) is an accurate clinical balance scale forassessing fall risk in the elderly, but there is no Thai translation of the Mini-BESTest.Objective:To translate the Mini-BESTest into Thai version and evaluate its intra-rater and inter-rater reliability and concurrent validity in the elderly.Methods:The Mini-BESTest was translated using the forward-backward method. Reliability and validity were evaluated in 30 healthy older adults aged 60-80 years recruited from Ongkharak, Nakhon Nayok. Mini-BESTest was administered and video-recorded to all participants. Rater 1 and 2 scored balance performance using the recordings twice one week apart. Scores from both raters were used to determine inter-rater and intra-rater reliability using the intraclass correlation coefficient (ICC). The Berg Balance Scale (BBS)and the Timed Up and Go test (TUG) were also administered to determine the concurrent validity of the Mini-BESTest-Thai using the Pearson correlation coefficient.Results:The Mini-BESTest-Thai showed excellent intra-rater reliability (ICC=0.972 to 0.982) and inter-rater reliability (ICC = 0.941). This scale demonstrated moderate correlation with the BBS (r = 0.645, p < 0.001) and low correlation with the TUG (r = -0.497, p < 0.01). Bland Altman plots revealed that mean difference between assessment 1 and 2 was 0 to 0.1 points and between raters was 0.2 points.Conclusion:The Mini-BESTest-Thai is a reliable and valid scale for evaluating balance in the elderly. |
|
dc.language |
th |
|
dc.subject |
ผู้สูงอายุ |
|
dc.subject |
การพยากรณ์การล้ม |
|
dc.subject |
การทรงตัวขณะเคลื่อนไหว |
|
dc.subject |
การวัดทางคลินิก |
|
dc.subject |
คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา |
|
dc.subject |
Elderly |
|
dc.subject |
Fall prediction |
|
dc.subject |
Dynamic balance |
|
dc.subject |
Clinical scale |
|
dc.subject |
Psychometric properties |
|
dc.title |
แบบประเมินการทรงตัว Mini-BESTest ฉบับภาษาไทย:การแปลพร้อมกับการศึกษาความเที่ยงของผู้ประเมินและความตรงเชิงสภาพของแบบประเมินในผู้สูงอายุ |
|
dc.type |
Article |
|
dc.identifier.bibliograpycitation |
วารสารกายภาพบำบัด2563; 42(3): 174-85 |
|