dc.contributor.author | จีราภรณ์ พยัคมะเริง | |
dc.date.accessioned | 2022-05-30T14:48:53Z | |
dc.date.available | 2022-05-30T14:48:53Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://www.council-uast.com/journal/upload/fullpaper/13-01-2020-919433132.pdf | |
dc.identifier.uri | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/21589 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจและความคาดหวังต่อระบบการทำงาน และ การให้บริการของงานสารบรรณ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัย คือ บุคลากรของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปี พ.ศ. 2562 ประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์สาขากายภาพบำบัด อาจารย์สาขาการส่งเสริมสุขภาพ และบุคลากรสายปฏิบัติการ จำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสำรวจ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบ สำรวจออนไลน์ (Google form) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความพึงพอใจต่อระบบการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา รายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจด้านผลสำเร็จของงานบริการครบถ้วน ถูกต้อง และตรงตามความต้องการเป็น อันดับแรก รองลงมา คือ ด้านระยะเวลาการให้บริการ มีความรวดเร็ว ทันเวลา และด้านขั้นตอนการ ดำเนินงาน ตามลำดับ 2) ความพึงพอใจต่อการให้บริการของงานสารบรรณ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อ พิจารณารายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจด้านการให้บริการด้วยความสุภาพ เรียบร้อย เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านบุคลากรมีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้านการให้คำแนะนำ หรือชี้แจงข้อมูลได้ อย่างครบถ้วน ถูกต้อง และด้านการติดตามงานที่ได้รับมอบหมาย ตามลำดับ 3) ความคาดหวังต่อระบบ การทำงาน พบว่า มีความคาดหวังด้านการบริการด้วยความรวดเร็ว ทันเวลา เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านการมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน ด้านระบบการติดตามเรื่อง/หนังสือราชการ และด้านการมีระบบ การติดตามงานที่ได้รับมอบหมาย ตามลำดับ 4) ความคาดหวังต่อการให้บริการของงานสารบรรณ พบว่า มีความ คาดหวังด้านการติดต่อประสานงานได้ชัดเจนและรวดเร็ว เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านการมีความชำนาญ ในหน้าที่ที่รับผิดชอบ ด้านความสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ด้านการให้บริการด้วย ความสุภาพเรียบร้อย และด้านการให้มีการติดตามเรื่อง/หนังสือราชการ ตามลำดับ จากผลการศึกษาสามารถ สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อระบบการทำงาน และการให้บริการของงานสารบรรณ ในระดับมาก ถึงมากที่สุดในทุกด้าน และมีความคาดหวังด้านการบริการด้วยความรวดเร็ว ทันเวลา และสามารถติดต่อ ประสานงานได้ชัดเจนและรวดเร็ว ซึ่งผลการศึกษาที่ได้จะช่วยพัฒนาระบบงานสารบรรณต่อไป | |
dc.description.abstract | The purpose of this study were to survey satisfaction and expectations of document work systems, and services of the General Administration Section of the Faculty of Physical Therapy, Srinakharinwirot University. The participants in this study were the current personnel of the Faculty of Physical Therapy, Srinakharinwirot University. They concludedboard of directors, the lecturer in Physical Therapy, the lecturer in Health Promotion and supporting staffs (n=51). The measurement tools were estimated in the 5 levels of the scales. Assessment for satisfactionwas collected on a five-point scale. and the data were collected using google form. The descriptive analysis reported percentage, average and standard deviation. The results of this study were as follows: 1) Satisfaction with the work system showed that both of the participants were estimated at the high level. When considering each aspect found that the first aspect was satisfied in the government official letter presentation, the second aspect was the government official letter acceptance, the sending government documents, the service duration is fast, the timely, and the preparation of official books, respectively. 2) Satisfaction with the services of the General Administration Section showed that both of the participants were scored at high level. When considering each aspect, it was found that the first aspect was the satisfaction with the service, the second aspect was the personnel with knowledge, the ability to perform advice or to clarify the information completely, the correctly, and the follow-up on the assignment, respectively. 3) Expectations towards the work system reported that the expectation of the service with fast and timely, the second aspect was the clear procedures, respectively. 4) expectations of the services according to the documents of the workers, it was found that the expectation of the coordination was clearly and quickly, followed by the proficiency in the responsibilities of the amount, respectively. From the study, it can be concluded that the participants have a good satisfaction with the work system and the service of the General Administration Section. Moreover, they have service expectations with speed, timeliness, and ability to communicate clearly and quickly. The results of the study will help to improve the documentary system. | |
dc.language | th | |
dc.subject | ความพึงพอใจ | |
dc.subject | ความคาดหวัง | |
dc.subject | ระบบการทำงาน | |
dc.subject | การให้บริการ | |
dc.subject | งานสารบรรณ | |
dc.subject | satisfaction | |
dc.subject | expectations | |
dc.subject | document work systems | |
dc.title | การสำรวจความพึงพอใจ และความคาดหวังต่อระบบการทำงาน และการให้บริการ ของงานสารบรรณ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | |
dc.title.alternative | Satisfaction Survey of Expectation on Work Systems and Service of General Administration, Faculty of Physical Therapy, Srinakharinwirot University | |
dc.type | Article | |
dc.identifier.bibliograpycitation | วารสารวิชาการ ปขมท.9(1): 13 - 23 |
Files | Size | Format | View |
---|---|---|---|
There are no files associated with this item. |