การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในตําบลโพธิ์แทน อําเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จํานวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และการสนับสนุนจากเครือข่ายทางสังคม มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) 0.91, 0.89, 0.92 และ 0.90 ตามลําดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.45คะแนน) มีระดับความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ (ร้อยละ 79.37) และการสนับสนุนจากเครือข่ายทางสังคม (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ2.34ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.62) ระดับปานกลาง สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ2.12ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.68) ในระดับต่ํา ปัจจัยที่มีผลกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพได้แก่ ปัจจัยนํา (ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ) และปัจจัยเสริม (เครือข่ายสังคม) เป็นตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 23.81(R2=0.238)ส่วนปัจจัยเอื้อ (สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ) ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของ ผู้สูงอายุอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value<0.05)แสดงให้เห็นว่าการสนับสนุนเครือข่ายทางสังคม และการส่งเสริมความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ นํามาสู่การมีสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ
This survey research, cross sectional survey study aimed to assess factors affected to health promoting behaviors of the elderly residing in Phothaen, Ongkharak District, NakhonNayokProvince.The sample were 246cases of the aging. The data collected by questionnaires with the assessment form of the health promoting behavior, health promotion knowledge, environments to facilitate health promotion and social support.The reliability was tested using Cronbach’s alpha equal to 0.91, 0.89, 0.92 and 0.90respectively.Analytical statistics using descriptive statistics and multiple logistic regression. The findings revealed that, elderly had health promoting behavior at a good level (mean = 3.81, S.D.= 1.45). The elderly had knowledge about health promotion (79.37 percentage) and social support (mean =2.34 S.D.=0.62) at moderate level and environments to facilitate health promotion (mean = 2.12S.D.= 0.68) at low level. Predisposing factors (knowledge about health promotion) and reinforcing factors (social support) could together predict health promoting behavior at 23.81 percentage (R2 =0.238). Whereas, enabling factors (the environments to facilitate health promotion) were not found to be related to health promoting behavior of the elderly (p-value< 0.05).Increased support from social and knowledge in health promotion can also influence the elderly's health promoting behaviors. Which leads to the good health of the elderly.