dc.contributor.advisor | ชยาภาส ทับทอง | th_TH |
dc.contributor.advisor | สินศุภา จุ้ยจุลเจิม | th_TH |
dc.contributor.author | รุ่งนภา เจียกวัฒนา | th_TH |
dc.contributor.author | ลักขณา แสงปลอด | th_TH |
dc.contributor.author | อัญชลี บุราณ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-05-23T06:26:58Z | |
dc.date.available | 2022-05-23T06:26:58Z | |
dc.date.issued | 2553 | |
dc.identifier.uri | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/19493 | |
dc.description.abstract | โครงงานวิศวกรรมฉบับนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาการกำจัดไขมันและโปรตีนออกจากผงแป้งเนื้อในเมล็ดมะขาม เพื่อให้ได้พอลิแซคคาไรด์ซึ่งประกอบไปด้วยอะไมโลส และ อะไมโลเพคติน จากการศึกษาการกำจัดไขมันและโปรตีนออกจากแป้งเนื้อในเมล็ดมะขามพบว่า การกำจัดไขมันก่อนการกำจัดโปรตีนจะได้แป้งที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่าการกำจัดโปรตีนก่อนไขมัน สภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดไขมันในถังกวนมีอัตราส่วนของเอทานอล 99.95% (มิลลิลิตร) ต่อผงแป้งเนื้อในเมล็ดมะขาม เป็น 4:1 ใช้ระยะเวลาในการกวน 20 นาที สภาวะที่เหมาะสมการกำจัดโปรตีนในถังกวนมีอัตราส่วนปาเปนผงทางการค้า(กรัม) ต่อ 0.5M ฟอสเฟตบัฟเฟอร์ pH 6.5 (มิลลิลิตร) ต่อผง แป้งเนื้อในเมล็ดมะขาม(กรัม) เป็น 0.5:1:1 ใช้ระยะในการกวน 20 นาที ที่อุณหภูมิ 45 °C ผงแป้งที่ผ่านการกำจัดไขมันและโปรตีนจะเหลือปริมาณโปรตีนและไขมันที่อยู่ในแป้ง เท่ากับ 0.57 และ 1.03 กรัมต่อ 100 กรัมแป้ง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังศึกษาการฟอกสีด้วยก๊าซโอโซน โดยใช้อัตราส่วนน้ำ RO ต่อแป้งที่ผ่านการกำจัดไขมันก่อนการกำจัดโปรตีนเท่ากับ 4 มิลลิลิตรต่อกรัมแป้ง อัตราการไหลของก๊าซโอโซนเป็น 10 ลิตรต่อนาที พบว่าจะต้องใช้ระยะเวลาในการฟอกสี 48 ชั่วโมงเพื่อให้ได้สีของผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามต้องการ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สาขาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | th_TH |
dc.subject | แป้งเมล็ดมะขาม | th_TH |
dc.subject | โปรตีน | th_TH |
dc.subject | ไขมัน | th_TH |
dc.title | การกำจัดโปรตีนและไขมันออกจากผงแป้งเนื้อในเมล็ดมะขาม | th_TH |
dc.title.alternative | Removal of protein and fat content from tamarind kernel | th_TH |
dc.type | Working Paper | th_TH |