การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการตัดสินใจลาออกของพนักงานโรงงานทอผ้าผืน อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง วิธีการศึกษาประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ คือ พนักงานโรงงานทอผ้าผืน อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง จำนวน 240 คน และสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ พนักงานโรงงานทอผ้าผืน อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง จำนวน 9 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.724 – 0.931 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์การวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว สถิติ Brown-Forsythe และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธี Stepwise และการวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า พนักงานโรงงานทอผ้าผืน อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง ที่มีเพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ฝ่ายงาน และระยะเวลาปฏิบัติงานแตกต่างกันมีระดับแนวโน้มการตัดสินใจลาออกแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน ด้านลักษณะงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และด้านรายได้และสวัสดิการ มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการตัดสินใจลาออกของพนักงานโรงงานทอผ้าผืน อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง ในทิศทางตรงกันข้าม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 11.9 และปัจจัยภาวะผู้นำองค์กรด้านการทำงานเป็นทีม และด้านการไว้วางใจมีอิทธิพลต่อแนวโน้มการตัดสินใจลาออกของพนักงานโรงงานทอผ้าผืน อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง ในทิศทางตรงกันข้าม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 22
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า พนักงานไม่พอใจกับเงินเดือนในปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องการปรับเงินเดือน และภาวะกดดันจากการทำงาน หากได้รับโอกาสหรือมีงานใหม่มาเสนอจะขอพิจารณาอีกครั้ง แต่โดยภาพรวมยังไม่มีความคิดที่จะลาออก
The objectives of this research were to study the factors influencing intentions to resign among employees of a textile manufacturer in Nikhom Phatthana, Rayong. The methods used in this study were comprised of quantitative and qualitative analysis. The sample consisted of two hundred forty participants for quantitative analysis and nine participants for qualitative analysis of employees at a textile manufacturer in Nikhom Phatthana, Rayong. The research instruments were questionnaire and semi-structure interview with reliability from 0.724 to 0.931. The statistical methods used to analyze the data included percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance, Brown-Forsythe and Multiple Regression by stepwise technique. The content analysis methods used to analyze data for qualitative analysis.
The results of the hypotheses testing for quantitative research finding indicated as follows: the employees of textile manufacturer in Nikhom Phatthana, Rayong, of different genders, educational levels, average income per month, department, and work experience had different intentions to resign at a statistically significant level of 0.05 The motivation factors in terms of the work itself, interpersonal relations with peers, salary and benefits influenced intentions to resign among employees of a textile manufacturer in Nikhom Phatthana, Rayong, in the opposite direction at statistically significant levels of 0.05 and was equal to 11.9 percent. The leadership factors in terms of team management and trust influenced intentions to resign among employees the textile manufacturer in Nikhom Phatthana, Rayong, in the opposite direction at statistically significant levels of 0.05 and was equal to 22 percent.
The results of qualitative research finding indicated as follows: the employees of textile manufacturer in Nikhom Phatthana, Rayong, are dissatisfied with their current salaries especially regarding salary adjustments and pressure from work. Possible job opportunity arises employee will reconsider. Overall, there is no intention to resign.