การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อทรัพย์สินรอการขายของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เขตพิษณุโลก โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ตัดสินใจซื้อทรัพย์สินรอการขายของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เขตพิษณุโลก จำนวน 411 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ และสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่ตัดสินใจซื้อทรัพย์สินรอการขาย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 31-40 ปี สถานภาพโสด จำนวนสมาชิกในครอบครัว 1-3 คน ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว มีรายได้ต่อเดือน 15,001-25,000 บาท ปัจจัยด้านพฤติกรรมการวางแผนการเงินส่วนบุคคล ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายได้พิเศษจากอาชีพเสริม รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท หากมีโอกาสจะหารายได้เพิ่มเติมจากอาชีพเสริม และรายได้ส่วนใหญ่มาจากผลตอบแทนจากการลงทุน รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 5,001-10,000 บาท จำนวนหนี้สินทั้งหมดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100,000 บาท เป็นประเภทหนี้บัตรเครดิต/บัตรกดเงินสด มีเป้าหมายในการออมเงินที่ชัดเจน ส่วนวัตถุประสงค์ในการออมเพื่อการใช้จ่ายในอนาคต ในรูปแบบเงินฝากออมทรัพย์ และมีศึกษาหาข้อมูลหรือวางแผนอย่างรอบคอบก่อนการลงทุนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านกลุ่มอ้างอิงที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทรัพย์สินรอการขาย คือ ครอบครัว ปัจจัยการเลือกทำเลที่ตั้งอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย พบว่า ด้านความสะดวกสบายและด้านความปลอดภัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค พบว่า ด้านความต้องการของผู้บริโภค ด้านต้นทุนของผู้บริโภค และด้านการสื่อสาร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดปัจจัยด้านคุณภาพบริการ พบว่า ด้านความเชื่อถือได้ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านความมั่นใจ และด้านความเอาใจใส่ลูกค้า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด การตัดสินใจซื้อทรัพย์สินรอการขาย พบว่า ด้านการประเมินทางเลือกและด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้บริโภคที่มีข้อมูลลักษณะประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทรัพย์สินรอการขายแตกต่างกัน ปัจจัยด้านพฤติกรรมการวางแผนการเงินส่วนบุคคล ปัจจัยการเลือกทำเลที่ตั้งอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย และปัจจัยด้านคุณภาพการบริการ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อทรัพย์สินรอการขาย ปัจจัยด้านกลุ่มอ้างอิงและปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อทรัพย์สินรอการขาย และส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับคุณภาพบริการ
The purpose of this research was to study factors affecting purchasing behavior for non performing assets in The Government Housing Bank-Phitsanulok Area. The sample of this study was 411 purchasers of non-performing assets of Government Housing Bank-Phitsanulok area. A questionnaire was used as a research instrument for data collection. Data collected were analyzed using descriptive statistics, percentages, mean, standard deviation, one-way analysis of variance, Multiple Regression Analysis and Pearson Product Moment Correlation Coefficient. The results of this study indicated as follows: Most of the respondents were male, aged 31-40 years old, single person, had 1-3 family members, worked as merchant/business owner, and earned monthly income between 15,001-25,000 baht. In terms of personal financial planning behavior factors, including income earning, most of the respondents had an extra income from an additional occupation. Average monthly income was less than or equal to 5,000 baht. They sought for an additional occupation to get extra income if there is an opportunity. Most of the income derived from the return on investment. When expenses were considered, an average monthly expenditure was between 5,001-10,000 baht and total liabilities was less than or equal to 100,000 baht. In terms of credit card debt / cash card, and savings, most of the respondents had a clear purpose of saving for future expenditures. The form of saving money was savings account. Most of the respondents had careful research or planning for investment. Overall investment was at a high level. In terms of the subjective norm factor, influential person for NPA purchasing decision was family. In terms of factors in choosing the location of the residential property, Convenience and safety had the highest influence on the purchasing decision for non- performing assets. When the 4 C's of marketing mix were considered, Consumer, Cost, and Communication had the highest influence on the purchasing decision for non- performing assets. Moreover, when service quality elements were considered, Reliability, Responsiveness, Assurance, and Empathy the highest influence on the purchasing decision for non- performing assets. Furthermore, when purchasing decision process was considered, Evaluation of Alternatives, and Post Purchase Behavior had the highest influence on the purchasing decision for non- performing assets. The results of hypothesis testing revealed that consumers with different demographic factors had different purchasing decision for non- performing assets. Personal financial planning behavior factors, selection of location for residential property, service quality influenced the purchasing decision for non- performing assets. Subjective norm and 4 C's of marketing mix did not influence the purchasing decision for non- performing assets. 4 C's of marketing mix was related to service quality.