การวิจัยและพัฒนาโปสการ์ดปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว จังหวัดชุมพร มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบโปสการ์ดที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว 2) เพื่อพัฒนาและออกแบบโปสการ์ดปฏิสัมพันธ์เพื่อรองรับสังคมดิจิทัลและส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร งานวิจัยนี้สร้างสรรค์ขึ้นโดยมุ่งหวังพัฒนารูปแบบดั้งเดิมของโปสการ์ดให้มีความทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีสื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในปัจจุบันและเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวให้แก่จังหวัดชุมพร งานวิจัยชิ้นนี้ทำการวิจัยในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา ขั้นตอนแรกผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์คนในพื้นที่จังหวัดชุมพรและรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณเกี่ยวกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวจากกลุ่มนักท่องเที่ยวผ่านแบบสอบถามออนไลน์ พบว่าส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุ 25-35 ปี เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ 15,001-30,000 บาท มีเป้าหมายการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน เน้นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ หาข้อมูลที่พัก การเดินทาง ร้านอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวผ่านช่องทางโซเชี่ยลมีเดียมากที่สุด ขั้นตอนที่ 2 ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์โปสการ์ดโดยใช้ทฤษฎีองค์ประกอบในงานออกแบบพบว่าโปสการ์ดโดยทั่วไปมีขนาดความกว้าง 105 มิลลิเมตร และยาว 148 มิลลิเมตร ผิวเรียบและพื้นสีขาวสำหรับเขียนข้อความ และทำการออกแบบต้นแบบโปสการ์ดเป็นจำนวน 5 แบบ ผ่านแนวคิดหลักคือ ทะเลชุมพร โดยใช้การผสมผสานเป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบ ขั้นตอนที่ 3 ผู้วิจัยได้นำต้นแบบโปสการ์ดไปทำการประเมินความพึงพอใจโดยผู้เชี่ยวชาญและนักท่องเที่ยว พบว่า 1) รูปแบบที่ผู้เชี่ยวชาญและนักท่องเที่ยวพึงพอใจมากที่สุดคือแบบภาพถ่าย (Photo)ผสมผสานกับภาพวาด (Painting) 2) ช่องทางการสื่อสารที่ผู้เชี่ยวชาญและนักท่องเที่ยวให้ความสนใจคือ เฟสบุ๊ค (Facebook), อินสตาแกรม (Instagram), เว็บไซต์ และ เออาร์ (Argumented Reality) ขั้นตอนสุดท้ายผู้วิจัยจึงได้นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงและพัฒนาการออกแบบเป็นโปสการ์ดปฏิสัมพันธ์ที่รองรับสังคมดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร
The research and develop the interactive postcard to promote the tourism of Chumphon province aims for 2 purposes (1) to study and analyze the type of tourism postcard formats which created for tourism promote campaign (2) to develop and design tourism postcards to support the digital society and to promote tourism business in Chumphon province. The consequence of the research is to improve the postcard format to be more modern by using the digital society issues matching with current tourist behavior for increasing the number of tourists in Chumphon Province. The researcher using the methodology of research and development to collect qualitative data from In-depth interview local people in Chumphon province and the quantitative data from tourists through by using an online questionnaire. The results of the questionnaire were as follows: the tourists were mostly females, from 25-35 years of age, worked at private companies, and earned approximately 15,001-30,000 THB per month. Their purpose in traveling was mainly to relax and focus on nature spot, accommodation, restaurants, and social media attractions in Chumphon province. After doing data analyze, the researcher make a draft of the postcards using composition theory and the elements of design. The optimal postcard was 105 mm in width, 148 mm in length with a smooth white texture for the text. Under data analytics, five prototype postcards were designed using the Chumphon sea as a main key image under the concept of fusion as the conceptual design framework. Once the prototype postcards have been designed, they were evaluated by both design expertises and tourists to found that: (1) the format that expertises and tourists were most satisfied with was a postcard with a balance design between photography and painting. (2) the used of social media platforms are Facebook, Instagram, websites, and Augmented Reality (AR). The researcher analyzed and re-evaluated the comments and suggestions to further improve and develop postcard designs in order to help promote Chumphon tourism in a digital society.