dc.contributor.advisor | ธีรารัตน์ อิทธิโสภณกุล | th_TH |
dc.contributor.author | สุวนันท์ ปัญจธารากุล | th_TH |
dc.contributor.author | อินทนา ปานเงิน | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-03-24T05:33:28Z | |
dc.date.available | 2022-03-24T05:33:28Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/19369 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของส่วนผสมโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติ แบบพื้นผิวตอบสนอง ออกแบบการทดลองแบบ Central composite design (CCD) ซึ่งมี 3 ตัวแปรต้น คือ ปริมาณ เจลาติน ปริมาณเพคตินและปริมาณแป้งมันสําปะหลัง ได้จํานวนการทดลองทั้งหมด 20 การทดลอง โดยพบว่า สูตรที่เหมาะสมที่สุด คือสูตรที่ใช้ปริมาณเจลาติน 6% ปริมาณเพคติน 1.5% และปริมาณแป้งมันสําปะหลัง 2.25% การศึกษาผลของกลีเซอรอลในการเพิ่มอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์น้ำพริกอ่องแผ่น ผลของ การศึกษาพบว่า ปริมาณเจลาตินที่เพิ่มจะส่งให้ค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ลดลง ทางด้านกายภาพพบว่า ปริมาณ เจลาตินที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ค่าความแข็งเพิ่มขึ้น ปริมาณเจลาตินและแป้งมันสําปะหลังที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ค่า ความยืดหยุ่นลดลง และปริมาณเพคตินที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ค่าความแข็ง ลดลงและค่าความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น คุณภาพด้านสีของผลิตภัณฑ์พบว่า ปริมาณและชนิดของสารก่อเจลทั้งสามชนิดไม่ได้ส่งผลต่อค่าสีของ ผลิตภัณฑ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์(P≤0.05) และกลีเซอรอลสามารถช่วย ลดค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ซึ่งจะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์น้ําพริกอ่องแผ่นได้ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | th_TH |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์น้ำพริกอ่องแผ่น | th_TH |
dc.subject | น้ำพริกอ่อง | th_TH |
dc.subject | กลีเซอรอล | th_TH |
dc.subject | สารที่ทําให้เกิดเจล | th_TH |
dc.title | การพัฒนาน้ำพริกอ่องแผ่น | th_TH |
dc.type | Working Paper | th_TH |