dc.contributor.author | ปิยวรรณ เตชะสกุลเจริญ | th_TH |
dc.contributor.author | พจนา นุชนิ่ม | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-03-24T03:13:55Z | |
dc.date.available | 2022-03-24T03:13:55Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/19364 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเบอร์เกอร์ที่ไม่มีเนื้อสัตว์โดยใช้โปรตีนจากพืช โดยทําการศึกษา ปริมาณโปรตีนเกษตรที่เหมาะสมทั้งหมด 3 ระดับ ได้แก่ โปรตีนเกษตร 20%, 30% และ 40% และทดลองหา วิธีการปรุงสุกที่เหมาะสม ระหว่างการอบและการทอด รวมถึงวิเคราะห์คุณภาพด้านการปรุงสุก คุณภาพทาง กายภาพ เคมีและทางประสาทสัมผัสด้วยวิธีการให้คะแนนความชอบ 9-point hedonic Scale และสเกลวัด ความพอดี (Just about right (JAR) scale) ผลการศึกษาพบว่า การปรุงสุกโดยการอบส่งผลดีต่อคุณภาพ ด้านการปรุงสุกของเบอร์เกอร์ปลาจากโปรตีนพืช โดยมีค่าร้อยละผลผลิตที่ได้ (cooking yield) ที่มากกว่าการ ทอด มีการสูญเสียน้าหนักหลังให้ความร้อน (Cooking loss) และร้อยละการหดตัว (Shrinkage) ที่น้อยกว่า การทอดโดยในการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสครั้งที่ 1 ตัวอย่างเบอร์เกอร์อบที่มีโปรตีนเกษตร 20% ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมมากที่สุด และเมื่อนําไปทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสครั้งที่ 2 กับ ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย พบว่าคะแนนความชอบโดยรวมสูงขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับการทดสอบทางประสาท สัมผัสครั้งที่ 1 (P≤0.05) และเมื่อทดสอบชิมตัวอย่างกับขนมปังพบว่าผู้ทดสอบตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อย่าง แน่นอนมากถึง 75% | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | th_TH |
dc.subject | เบอร์เกอร์ปลา | th_TH |
dc.subject | เบอร์เกอร์ปลาจากพืช | th_TH |
dc.subject | โปรตีนเกษตร | th_TH |
dc.subject | การทอด | th_TH |
dc.subject | การอบ | th_TH |
dc.title | การพัฒนาผลิตภัณฑ์เบอร์เกอร์ปลาจากโปรตีนพืช | th_TH |
dc.type | Working Paper | th_TH |