Abstract:
ในปัจจุบัน ความต้องการใช้พื้นที่ในการทำงานแตกต่างไปจากในอดีตซึ่งในอดีตจะถูกจำกัดขอบเขต
พื้นที่การทำงานไว้ในบริษัทเท่านั้นแต่เนื่องจากในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปส่งผลให้มีการยืดหยุ่นในการใช้ชีวิตและ
การทำงานเพิ่มมากขึ้น ประชากรที่อยู่ในช่วงวัยทำงานมีความต้องการอิสระในการทำงานเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้
ความต้องการพื้นที่สำหรับทำงานนอกสถานที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน Co-Working space จึงเป็นหนึ่งในสถานที่ที่
ได้รับความนิยม เนื่องจากประกอบไปด้วยพื้นที่ในการทำงาน สังคมในการทำงานใหม่ ๆ สิ่งอำนวยความสะดวก
ต่างๆไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างดีจึงทำให้
Co-Working space ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทางผู้วิจัยจึงได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากผู้ใช้บริการ จำนวน 35 คน โดยแบ่งเป็นผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 30 คน และผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 5 คน ผลการศึกษาสามารถแบ่งได้ เป็น 3 ด้าน
1.ข้อมูลบุคคลทั่วไปพบว่าบุคคลที่เข้ามาใช้บริการ co-working space ส่วนใหญ่จะเป็นประชากรเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (เพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 70.0) โดยกลุ่มประชากรที่มากที่สุด เป็นนักศึกษาจำนวน
17 คน (คิดเป็นร้อยละ 56.7) รายได้ของผู้เข้ามาใช้บริการกลุ่มที่มากที่สุดเฉลี่ย เป็นประชากรที่มีรายได้น้อย
กว่า 5000 บาทจำนวน 10 คน (คิดเป็นร้อยละ 33.3) และอยู่ในช่วงอายุ18-25 ปีจำนวน 24 คน (คิดเป็น ร้อยละ 80.0)
2. ความถี่ในการเข้าใช้บริการ Co-Working spaceพบว่าประชากรส่วนใหญ่ที่เข้ามาใช้บริการ Co-working space โดยเฉลี่ย 4-6 ครั้งต่อเดือน (คิดเป็นร้อยละ 33.3)
3. ปัจจัยในการใช้บริการ Co-Working space พบว่าปัจจัยที่มีการส่งผลต่อการเข้ามาใช้บริการ Co-working space ในระดับมากที่สุดจะเป็นในเรื่องของความสะดวกในการเดินทาง (x =4.53) รองลงมาจะเป็น
ในเรื่องของบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมโดยรวม (x =4.43) และปัจจัยที่ส่งผลน้อยสุดจากที่แสดงในตารางที่ 5
นั้นแต่ค่าแปลผลออกมาอยู่ในระดับมาก ก็คือปัจจัยพฤติกรรมของพนักงานผู้ใช้บริการ (x =3.66)