งานวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการฝึกจิตลักษณะแบบ
บูรณาการเพื่อพัฒนาพฤติกรรมเอื้อสังคมในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยใช้รูปแบบ
การวิจัย 2 by 2 factorial design มีการจัดกระทำ 2 ประเภท ได้แก่ 1) การฝึกอบรมความมี
น้ำใจนักกีฬา และ 2) การฝึกอบรมเหตุผลเชิงจริยธรรม กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้คือ นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนกีฬา จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 120 คน ซึ่งถูกสุ่มเข้าหนึ่ง
ในสี่กลุ่มโดยไม่ลำเอียง โดยมีการวัดผลด้านจิตลักษณะที่มีการฝึกและพฤติกรรมเอื้อสังคม
หลังจากนั้น 2 เดือน เครื่องมือวัดในงานวิจัยนี้เป็นมาตรประเมินรวมค่า โดยเลือกข้อคำถามที่
ค่าอำนาจจำแนกสูง พิสัยค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดอยู่ระหว่าง 0.84-0.87 ทดสอบ
สมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมหลายตัวแปร ผลการศึกษา พบว่า นักเรียน
ที่ได้รับการฝึกจิตลักษณะ 2 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเอื้อสังคมสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ แสดงให้
เห็นถึงประสิทธิผลของการฝึกอบรมในงานวิจัยนี้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ สามารถแสดงข้อเสนอแนะ
เชิงนโยบายที่สำคัญจากผลการวิจัย คือ โรงเรียนควรส่งเสริมการฝึกจิตลักษณะแบบบูรณา
การพร้อมกันทั้ง 2 ด้าน ทั้งความมีน้ำใจนักกีฬาและเหตุผลเชิงจริยธรรม จะสามารถพัฒนา
พฤติกรรมเอื้อสังคมในกลุ่มนักเรียนให้เกิดขึ้นได้มาก
The objective of this experimental study was to investigate the effectiveness of
integrated psychological training for secondary school students on their prosocial
behavior enhancement. The study employed a 2 by 2 factorial design. There were two
types of training: 1) sportsmanship training, and 2) moral reasoning training. Samples
of this study were 120 students from Suphanburi sports school. The students were
randomly assigned to one of the following four groups receiving other type of training.
Two months after training, psychological measures, and behavior test were
administered to all students. Assessments used in this study were in the form of
summated rating scales. The items of each questionnaire were carefully selected based
on several statistical criteria: item discrimination and item-total correlation. Reliability
in terms of alpha coefficient was computed for each measure range from 0.84 to 0.87.
A statistical procedure used to test the hypotheses was Multivariate analysis of
covariance. The result showed that, when compared with the other groups, the 100%
trained group was more superior in prosocial behavior assessed 2 months after training.
The effectiveness of the psychological training was clearly evident. According to the
results in this experiment, important policy recommendations are given. School should
promote the integrated psychological training on sportsmanship and moral reasoning
to promote prosocial behavior of secondary school students