DSpace Repository

การพัฒนาแบบวัดความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับงาน

Show simple item record

dc.contributor.author อรพินทร์ ชูชม th_TH
dc.contributor.author สุนีย์เหมะประสิทธิ th_TH
dc.date.accessioned 2020-12-10T05:43:33Z
dc.date.available 2020-12-10T05:43:33Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/10076
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบวัดความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับงานที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือ ได้ตลอดจนตรวจสอบโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูอาจารย์ ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 466 คน เครื่องมือหลักที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบวัดความสัมพันธ์ ระหว่างครอบครัวกับงาน มีจำนวน 36 ข้อ แต่ละข้อประกอบด้วยมาตราประเมินค่า 5 ระดับ (1) ไม่จริงเลย ถึง (5) จริงที่สุด ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแบบวัดมี2 มิติที่แยกจากกันได้แก่การเกื้อหนุนระหว่างครอบครัวกับงาน และ ความขัดแย้งระหว่างครอบครัวกับงาน และผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ยืนยันพบว่าโมเดลองค์ประกอบอันดับที่ 1 ของแต่ละมิติที่ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบที่สัมพันธ์กัน และโมเดล องค์ประกอบอันดับที่ 2 มี 2 องค์ประกอบที่สัมพันธ์กัน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โครงสร้าง 6 องค์ประกอบในแต่ละมิติประกอบด้วยการรวมกันระหว่าง 2 ทิศทาง (ครอบครัวไปสู่การทำงาน และ การทำงาน ไปสู่ครอบครัว) และ 3 ประเภทของมิติการเกื้อหนุนระหว่างครอบครัวกับงาน: อารมณ์จิตลักษณะและพฤติกรรม 3 ประเภทของมิติความขัดแย้งระหว่างครอบครัวกับงาน: เวลา ความเครียด และพฤติกรรม แบบวัดความสัมพันธ์ ระหว่างครอบครัวกับงานมีคุณภาพที่ดีทั้งความเชื่อถือได้ชนิดความสอดคล้องภายใน (α = .86 - .93) ความ เที่ยงตรงเชิงเอกนัย (AVE = .68 - .81) และความเที่ยงตรงเชิงจำแนก (MSV = .57 - .68) แบบวัดความสัมพันธ์ ระหว่างครอบครัวกับงานมีหลายมิติสามารถนนำไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ รวมทั้งใช้ทดสอบและพัฒนาทฤษฎีที่ เกี่ยวข้องความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับงาน th_TH
dc.description.abstract The purposes of this study were to develop valid and reliable and verify dimensions of workfamily interface. The sample consisted of 466 teachers in Bangkok. The major instrument was work-family interface inventory that contained 36 items. Each item was rated on a five-point Likert scale, from (1) never true of me to (5) always true of me. The data were analyzed using confirmatory analysis. The results showed that there were two separate dimensions of work-family interface: work-family facilitation and work-family conflict. Both the model with six firth-order correlated factors of facilitation/conflict and the model with two correlated second-order factors of work-family facilitation (family-to-work facilitation and work-to-family facilitation) /workfamily conflict (family-to-work conflict and work-to-family conflict) showed a good fit to empirical data. Specifically, the six factors of work-family facilitation/work-family conflict included the combination of three types of work-family facilitation (affect, characteristic, behavior)/work-family conflict (time, stress, behavior) and two directions of work-family facilitation/ work-family conflict (family-to-work and work-to-family). The results indicated that the work-family interface inventory had good psychometric properties: internal consistency reliability (α = .86 - .93), convergent (AVE = .68 - .81) and discriminant validity (MSV = 057 - .66). The measure of work-family interface is a multidimensional scale that has the potential for significant usage in the development and testing of theory, as well as practical application
dc.language.iso th th_TH
dc.subject ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับงาน th_TH
dc.subject คุณสมบัติการวัด th_TH
dc.subject ความขัดแย้งระหว่างครอบครัวกับงาน th_TH
dc.title การพัฒนาแบบวัดความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับงาน th_TH
dc.title.alternative Development of Work-Family Interface Inventory th_TH
dc.type Article th_TH
dc.identifier.bibliograpycitation วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 25(1) มกราคม 2562 th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics