Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/30342
Title: รายงานการวิจัยและนวัตกรรมฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การพัฒนาแนวคิดทฤษฎี C – K สู่อัตลักษณ์สินค้าแฟชั่นทุนวัฒนธรรมร่วมสมัย กรณีศึกษา : สไบมอญ จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Development From Concept of C-K Theory towards Contemporary Cultural Capital Fashion Goods Identity Case Study : Sabai Mon, Pathum Thani Province
Authors: พรนารี ชัยดิเรก
Keywords: อัตลักษณ์
สินค้าแฟชั่น
ทุนวัฒนธรรม
สไบมอญ
Issue Date: 2567
Publisher: สาขาการออกแบบทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาแนวคิดทฤษฎี C – K สู่อัตลักษณ์สินค้าแฟชั่นทุนวัฒนธรรมร่วมสมัย กรณีศึกษา : สไบมอญ จังหวัดปทุมธานี เป็นงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา ทบทวน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับผ้าสไบมอญและทุนทางวัฒนธรรมอื่น ๆ ของจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาทฤษฎี C – K และแนวคิดที่เกี่ยวกับการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทุนวัฒนธรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบสร้างสรรค์ให้เกิดสินค้าแฟชั่นทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยได้ 3) เพื่อค้นหาและนำเสนอคอลเลกชั่นผลิตภัณฑ์สินค้าต้นแบบที่แสดงถึงอัตลักษณ์สินค้าแฟชั่นทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยประเภทผ้าสไบมอญ ของจังหวัดปทุมธานีได้ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการใช้แบบสำรวจและแบบสอบถามกับกลุ่มเป้าหมาย จากการศึกษาพบว่าอัตลักษณ์ของสไบมอญ จังหวัดปทุมธานี ในด้านองค์ประกอบในการออกแบบแฟชั่นที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่ ด้านโครงร่างเงา ด้านลวดลาย และด้านสีสันตามลำดับ ด้านทุนวัฒนธรรมของจังหวัดปทุมธานีที่ควรให้ความสำคัญได้แก่ ธงตะขาบ ประเพณีแห่หางหงส์ธงตะขาบและประเพณีตักบาตรพระร้อย เจดีย์มอญ และข้าวหอมปทุม ฯ ตามลำดับ บุคลิกภาพตามทฤษฎีบุคลิกภาพการสื่อสารของShigenobu ที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับหัวข้อวิจัยมากที่สุด ได้แก่ Casual Dynamic Natural และChic ด้านการออกแบบลวดลายด้วยการออกแบบลายดอกไม้ในรูปแบบลวดลายประยุกต์จากของจริงและลวดลายจากจินตนาการ และลวดลายของทุนวัฒนธรรม จังหวัดปทุมธานี ด้วยรูปแบบลวดลายเรขาคณิตและลวดลายประยุกต์จากของจริง ด้านแนวคิดทฤษฎี C – K ตามองค์ประกอบในการออกแบบแฟชั่น พื้นที่ฝั่ง C ได้แก่ ด้านลวดลายขอบหยักและลวดลายบนผืนผ้า ด้านสีสัน ด้านรายละเอียดการตกแต่งบน และด้านลักษณะจำเพาะ และพื้นที่ฝั่ง K ได้แก่ ด้านโครงร่างเงาที่เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าหน้าแคบแถบยาวและมีขอบหยักโดยรอบ ด้านกระแสเทรนด์แนวโน้มสินค้าแฟชั่นในปี 2022-2024 นำเสนอและอ้างอิงสไตล์แฟชั่นฤดูกาล Spring / Summer 2022-2023 – รูปแบบของเครื่องแต่งกายประเภทชุดในสไตล์โรแมนติก ชุดที่สวมใส่สบาย และชุดราตรีที่สะท้อนความเป็นผู้หญิง รูปแบบเครื่องประดับเน้นการออกแบบเครื่องสวมศีรษะและกรอบแว่นตาขนาดใหญ่ รูปแบบของเครื่องประกอบการแต่งกายเน้นการออกแบบกระเป๋าทรงถุงขนาดใหญ่ กระเป๋าใบเล็กสำหรับคล้องข้อมือ ซึ่งผลงานวิจัยเป็นการนำเสนอคอลเลกชั่นผลิตภัณฑ์สินค้าแฟชั่นต้นแบบ ประกอบด้วย เครื่องแต่งกาย 5 ชิ้น เครื่องประดับ 2 ชิ้น และเครื่องประกอบการแต่งกาย 2 ชิ้น ผลงานวิจัยนี้ ส่งผลให้ผ้าสไบมอญของจังหวัดปทุมธานีเป็นที่รู้จัก สร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตภายในชุมชนและท้องถิ่น ทำให้เกิดการสืบทอดอนุรักษ์ภูมิปัญญาการผลิตผ้าสไบมอญให้คงอยู่ตลอดไป
Abstract: The research project on Developing concepts and theory C – K towards product identity, fashion capital, contemporary culture, case study: Sabai Mon, Pathum Thani Province. The objectives of this research are: 1)To study, review and collect information on research related to Sabai Mon clothes and other cultural capitals of Pathum Thani province 2) To study C – K theory and the concepts that related to product development from cultural capital that can be applied in the creative design of fashion products with contemporary cultural capital. 3)To find and present a collection of prototype products that demonstrate the identity of fashion products, contemporary cultural capital in the category of Sabai Mon clothes of Pathum Thani Province. The researcher used a qualitative research method by collecting data by using in-depth interviews with the experts and combined with a quantitative research by using surveys and questionnaires with the target groups. The results found that the identity of Sabai Mon Pathum Thani province in terms of fashion design elements that should be paid attention to the silhouette, patterns, and colors respectively. The cultural capital of Pathum Thani province that should be emphasized and can lead to inspiring the creation with Sabai Mon in Pathum Thani province include the centipede flag, the tradition of the Hong-hang parade and the centipede flag and the tradition of offering alms to monks, the Mon chedi, and Pathumthani rice respectively. According to Shigenobu's communication personality theory, the most consistent and connected to the research topic are Casual, Dynamic, Natural and Chic. For the pattern design with floral design in the form of applied patterns from the real and imaginary patterns and the patterns of cultural capital Pathum Thani province with geometric patterns and patterns applied from the real things. On the conceptual of the theory C – K according to the elements of fashion design, the C area the jagged edges and the patterns on the fabric, color, decoration details on and characteristics and the K area is the silhouette is a narrow rectangular shape with a longitudinal stripe and a jagged edge around it. In terms of the fashion trends 2022-2024, present and reference fashion styles for the Spring / Summer 2022-2023 season with the design of apparel in a romantic style, casual outfit. The research result is to present a collection of prototype products that represent the identity of the fashion capital of contemporary culture in the type of Sabai Mon fabrics consisting of 5 clothes, 2 jewelries and 2 accessories
Description: ได้รับทุนสนับสนุนจากเงินงบประมาณรายได้ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปีงบประมาณ 2564
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/30342
Appears in Collections:VD-Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
VD_Pornnaree_C_2567.pdf39.77 MBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.