Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29752
ชื่อเรื่อง: | การเปรียบเทียบนโยบายป้องกันและปราบปรามการทุจริต คอร์รัปชันของประเทศไทยช่วงรัฐบาล พ.ศ. 2551– 2561 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Comparison of Prevention and Suppression Against Corruption Policieswithin Thai Governments Between B.E. 2551 -2561 |
ผู้แต่ง: | เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ |
Keywords: | การทุจริตคอร์รัปชั่น การคอร์รัปชั่น การป้องกัน ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น (ซีพีไอ) Corruption Anti-Corruption CPI Index |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
Abstract(TH): | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษานโยบาย แนวทางหรือมาตรการในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน และ (2) เปรียบเทียบแนวทางหรือมาตรการในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันของรัฐบาล ระหว่าง พ.ศ. 2551-2561 โดยเป็นการศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) เช่น ราชกิจจานุเบกษา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ข้อมูลทั้งหมดถูกนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า มาตรการและนโยบายของทั้งสามรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวข้าราชการและนักการเมืองทั้งสิ้น เช่น การจัดระบบงานให้มีความโปร่งใส การบริหารโดยยึดนำหลักธรรมาภิบาล การส่งเสริมระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ฯลฯ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชน เช่น การสนับสนุนการสร้างค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ การสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นมาตรการที่เป็นนามธรรม แต่ค่านิยมและพฤติกรรมของคนในสังคมยังไม่เปลี่ยน เป็นเหตุให้มีการคอร์รัปชันที่ยากจะแก้ไขเยียวยา ดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชันจึงอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน คือ 35-38 เต็ม 100 |
บทคัดย่อ: | The objectives of this research were to (1) study policies, guidelines or measures in executing the prevention and suppression against corruption, and (2) compare guidelines or measures in executing the prevention and suppression against corruption among existing governments during B.E. 2551 –2561. The study used qualitative research method by collecting data from existing literaturessuch as government gazettes and National Anti-corruption Commission.Then all data will be conducted in content analysis. The results from this study found that the measures and policies of the three governments were almost matters related to all government officers and politicians. For examples, the transparency in operational systems, administration on the basis of good governance, upholding in merit system of the civil servants' appointments and transfers, etc. Matters related to population were such as supporting the social values building in adherence to integrity, establishing moral standards, which all ofthese were abstract measures, yet ones' social values and behaviors did not change. This caused the corruption ongoing and difficult to remedy. Therefore, the Corruption Perception Index (CPI) points are similarly 35 –38 out of 100 |
URI: | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/252939 https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29752 |
Appears in Collections: | Soc-Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.