Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29735
Title: สถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย
Other Titles: Health Literacy Situation of Monks in Thai Society
Authors: โกนิฏฐ์ ศรีทอง
ชลวิทย์ เจียรจิตต์
เบญจมาศ สุขสถิตย์
ชัยวัชร พรหมจิตติพงศ์
Keywords: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
สุขภาพพระสงฆ์
คุณภาพชีวิต
Health Literacy
Monks Health
Quality of Life
Issue Date: 2564
Abstract(TH): สถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทยปัจจุบันมีข้อพึงตระหนักที่สำคัญคือ การพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสุขภาพและการพัฒนากิจกรรมของคณะสงฆ์ที่สามารถส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสถานการณ์ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย และ 3) เสนอรูปแบบการยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในคณะสงฆ์ไทย ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การศึกษาครั้งนี้จึงได้เก็บข้อมูลแบบผสมผสานจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสงฆ์จำนวน 719 รูป ในพื้นที่ 8 จังหวัด โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูล อาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 65 มีภาวะโภชนาการเกิน และเมื่อใช้แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพฉบับภาษาไทย (THLA-N) พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพียงพอ เพียงร้อยละ 21.2 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย ประกอบด้วย ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยด้านเชิงนโยบาย และ 3) รูปแบบการยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทยจำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการทั้งจากคณะสงฆ์ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานด้านสาธารณสุขในการพัฒนากิจกรรมร่วมกัน
Abstract: The situation of monks’ health literacy in Thai society requires awareness on the development of the body of knowledge related to health issues and the development of Sangha activity to promote physical activities that are correct according to the Dhamma-Vinaya. The research article consists of the following objectives: 1) to explore the situation of monks’ health literacy in Thai society; 2) to analyze factors related to the health management of monks in Thai society; and 3) to present a model for enhancing the health literacy in Thai Sangha. The study applied mixed-methods research where the mixed data were collected from a sample group consisting of 719 monks in the areas of 8 provinces. A questionnaire and an in-depth interview were used to collect data. The obtained data were analyzed by way of descriptive statistics and content analysis. From the study, the following results are found: 1) From studying the situation of monks’ health literacy in Thai society, it is found that more than 65% of a sample group are of overnutrition. When using a Thai Health Literacy Assessment Instrument: Nutrition label (THLA-N), it is found that only 21.2% of a sample group have sufficient health literacy 2) Factors related to the health management of monks in Thai society comprise personal factors, environmental factors, and factors on policy. 3) A model for enhancing the health literacy in of monks in Thai society requires the integration from the Sangha, schools, and public health organizations to develop joint activities.
URI: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/254370
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29735
Appears in Collections:Soc-Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.