Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29730
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชลวิทย์ เจียรจิตต์ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-08T07:15:17Z | - |
dc.date.available | 2024-01-08T07:15:17Z | - |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/156564 | |
dc.identifier.uri | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29730 | - |
dc.description.abstract | The study of “The Cultural Tourism Development for Older Persons” has 3 purposes: (1) to examine and analyze opinions of older persons toward the cultural tourism development for older persons; (2) to analyze ways and the network of cultural tourism development for older persons; and (3) to propose policies of cultural tourism development for older persons. This mixed method research includes quantitative research methodology to explore and analyze opinions of the sample group of 416 older persons travelling in 12 studying areas of cultural tourism in this study, while the qualitative research methodology involves documentary research on cultural tourism and situations of aging society as well as fieldworks collecting data from 20 high experienced persons regarding cultural tourism management from different locations. The results revealed that, firstly, the reasons for cultural tourism for most of the sample groups are family relaxation, praying and making merit, and attractive activities of cultural tourism. While the opinions of expectation toward cultural tourism for older persons, from the least agreement to highest agreement, expressed that the sample group similarly agreed most with the influence of entrance fee toward the decision of cultural and Buddhism-based tourism, then the suitable staff in cultural and Buddhism-based tourism areas providing proper services to older persons. Secondly, it was found that there are 3 ways to develop the cultural tourism: research and development of cultural tourism, stimulating Local Administrative Organization as the main host for tourism development, and expanding advanced and impartial tourism business system for tourists. Additionally, the results revealed that network development requires at least 3 essential associations: local network of cultural tourism, entrepreneurial network of cultural tourism, and governmental network. Lastly, this research proposes 3 policies developing and advancing cultural tourism for older persons: developing sub-region travel routes of cultural tourism for older persons, encouraging tax benefit policies for older persons and their family, and expanding information for cultural tourism for older persons. This research presents 2 main suggestions: policies and research. The policy suggestion proposes the Prime Minister's Office to become the center creating cultural tourism plans together with the Ministry of Tourism and Sports, the Ministry of Culture, the National Office of Buddhism, and the Ministry of Social Development and Human Security, by hosting activities promoting tourism for Thai and foreign older tourists. At the same time, the research suggestion advises the Tourism Authority of Thailand to encourage academic institutions and scholars in the fields of tourism and social sciences research examining behaviors, needs, and suggestions toward the development of cultural tourism for foreign senior tourists. | |
dc.subject | การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | |
dc.subject | Cultural Tourism | |
dc.subject | Older Persons | |
dc.title | การพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงอายุ | |
dc.title.alternative | The The Cultural Tourism Development for Older Persons | |
dc.type | Article | |
dc.identifier.bibliograpycitation | วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (2019): ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2562 | |
dc.description.abstractthai | การศึกษาเรื่อง “การพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงอายุ” มีวัตถุประสงค์การศึกษา 3 ข้อได้แก่ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงอายุ (2) เพื่อวิเคราะห์แนวทางและเครือข่ายการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงอายุ และ (3) เพื่อเสนอรูปแบบนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงอายุ โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานแบ่งออกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุและเดินทางท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ทำการศึกษาวิจัย 12 แห่งทั่วประเทศจำนวน 416 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงเอกสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและสถานการณ์ของสังคมผู้สูงอายุ และการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในพื้นที่ต่างๆ อีกจำนวน 20 คน ผลการศึกษาพบว่า ประการที่หนึ่ง ความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เหตุผลในการตัดสินใจท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการพักผ่อนกับครอบครัว รองลงมาคือต้องการไหว้พระเพื่อขอพรและทำบุญ และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมมีการประชาสัมพันธ์และกิจกรรมที่ดึงดูดใจตามลำดับ ขณะที่ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างด้านความคาดหวังต่อแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมสำหรับผู้สูงอายุ จากระดับไม่เห็นด้วยที่สุดถึงเห็นด้วยที่สุด พบว่ากลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยว่าการเก็บค่าเข้ามีผลกระทบต่อการตัดสินใจเข้าชมแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมมากที่สุด ลำดับถัดมาคือเห็นด้วยว่าแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมมีบุคลากรให้บริการแก่ผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม ประการที่สอง แนวทางและเครือข่ายการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงอายุมี 3 แนวทางสำคัญคือการวิจัยและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพหลักในการพัฒนาการท่องเที่ยว และการพัฒนาระบบธุรกิจการท่องเที่ยวที่ก้าวหน้าและเป็นธรรมแก่นักท่องเที่ยว ขณะที่การพัฒนาเครือข่ายจำเป็นต้องมีเครือข่ายที่สำคัญในการร่วมเป็นภาคีผลักดันการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างน้อย 3 เครือข่ายคือเครือข่ายท้องถิ่นของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เครือข่ายผู้ประกอบการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และเครือข่ายภาครัฐ ประการที่สาม การวิจัยครั้งนี้ได้เสนอรูปแบบนโยบาย 3 รูปแบบเพื่อการพัฒนาและยกระดับปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงอายุได้แก่การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงอายุระดับอนุภูมิภาค การพัฒนานโยบายสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้สูงอายุและครอบครัว และการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศให้กับแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะการวิจัย มี 2 ส่วนได้แก่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญคือสำนักนายกรัฐมนตรี ต้องเป็นหน่วยงานกลางในการประสานการจัดทำแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมสำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับผู้สูงอายุทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ขณะที่ข้อเสนอแนะเชิงวิจัยที่สำคัญคือสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ควรส่งเสริมให้สถาบันการศึกษา นักวิชาการที่มีความรู้ความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวและการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ดำเนินการศึกษาวิจัยพฤติกรรม ความต้องการและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจากนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุชาวต่างชาติ | |
Appears in Collections: | Soc-Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.