Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29729
Title: สถานการณ์และการจัดการความเครียดตามแนวพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาคณะสงฆ์จังหวัดนครนายกและสระแก้ว
Other Titles: A SITUATION AND BUDDHIST MANAGEMENT OF STRESSES: A CASE STUDY OF SANGHA IN NAKORN NAYOK AND SRAKAEW PROVINCES
Authors: ชลวิทย์ เจียรจิตต์
Keywords: การจัดการความเครียด
หลักธรรมกับความเครียด
Stress management
Buddhist doctrines and stress
Issue Date: 2560
Abstract(TH): บทความเรื่อง “สถานการณ์และการจัดการความเครียดตามแนวพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาคณะสงฆ์จังหวัดนครนายกและสระแก้ว” มีวัตถุประสงค์การศึกษา ได้แก่ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และการจัดการปัญหาความเครียดของพระสงฆ์จังหวัดนครนายกและสระแก้ว 2) เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมและกระบวนจัดการความเครียดตามแนวพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการความเครียดตามแนวพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับบริบทสังคมสมัยใหม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บแบบสำรวจจากพระสงฆ์ที่สังกัดวัดในจังหวัดนครนายกและสระแก้ว กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ Taro Yamane จำนวน 262 รูป เพื่อให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์และการจัดการปัญหาความเครียดของพระสงฆ์จังหวัดนครนายกและสระแก้ว ขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งเน้นการสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้ให้ข่าวสำคัญ ทั้งพระสงฆ์และนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาจำนวน 15 รูป/คน และยังมีการจัดสัมมนากลุ่มย่อยและการสัมมนาเชิงปฏิบัติเพื่อให้ได้ข้อเกี่ยวกับแนวทางการจัดการความเครียดตามแนวพระพุทธศาสนาร่วมด้วย ผลการศึกษาพบว่า ประการที่หนึ่งสถานการณ์และการจัดการปัญหาความเครียดของพระสงฆ์จังหวัดนครนายกและสระแก้ว ปัจจัยที่นำไปสู่ความเครียดของกลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์จังหวัดนครนายกและจังหวัดสระแก้วคือการมีความรู้สึกกังวลหรือมีปัญหาต้องให้แก้ไขอยู่เป็นประจำ รองลงมาคือ รู้สึกต้องแบ่งเบาภาระความเครียดจากคนรอบข้างประสบปัญหาความเครียด อันดับที่สาม คือกังวลต่อปัญหาสุขภาพของตนเอง จึงจะเห็นได้ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของพระสงฆ์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการองค์กรทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้เข้าใจแนวทางการจัดระบบงาน มีการแบ่งเบาภาระร่วมกัน ตลอดจนเปิดโอกาสให้ฆราวาสสามารถเข้ามาร่วมทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาได้มากยิ่งขึ้น ประการที่สองหลักธรรมและกระบวนจัดการความเครียดตามแนวพระพุทธศาสนา มีหลักธรรมที่สำคัญ 4 หลักธรรมกล่าวคือ 1) หลักไตรลักษณ์ 2) หลักอริยสัจ 4 3) หลักโยนิโสมนสิการ และ 4) หลักเจริญสติ ซึ่งมีจุดหมายร่วมกันคือการสร้างให้เห็นถึงเหตุแห่งทุกข์และการมองชีวิตให้ทะลุกถึงต้นตอของปัญหา เพื่อที่จะสามารถกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาความเครียดได้อย่างถูกต้อง ไม่หลงไปกับการแก้ไขปัญหาความเครียดที่เพิ่มแต่กิเลสและมิจฉาทิฐิ แต่มุ่งให้ใช้กระบวนการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งใช้สติและปัญญาเป็นเครื่องกำหนดการตัดสินใจในกระบวนการแก้ไขปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้น และประการที่สามแนวทางการจัดการความเครียดตามแนวพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับบริบทสังคมสมัยใหม่ คือการพัฒนาการเรียนรู้ การพัฒนาพื้นที่และการพัฒนากิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ของวัดและชุมชนที่ใกล้เคียง โดยมีเป้าหมายสำคัญที่การพัฒนาแนวทางการดำเนินวิถีชีวิตให้พระสงฆ์ สามารถพัฒนาศักยภาพและการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบทสังคมสมัยใหม่ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้พระสงฆ์สามารถเรียนรู้กระบวนการพัฒนาสุขภาวะตนเองและฆราวาสได้ สำหรับข้อเสนอแนะการวิจัยที่สำคัญที่สองประการกล่าวคือ ประการที่หนึ่ง สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครนายกและสระแก้ว และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายกและสระแก้ว ควรพิจารณาจัดการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ให้กับพระสงฆ์ ทั้งในมิติสุขภาพกายและสุขภาพใจเพื่อเป็นฐานข้อมูลสำคัญของการยกระดับการดูแลสุขภาวะ และประการที่สองสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติควรนำร่องนำแนวทางการจัดการปัญหาความเครียดตามแนวพระพระพุทธศาสนา ไปประยุกต์ใช้เพื่อการสำรวจสถานการณ์ปัญหาความเครียดของพระสงฆ์จังหวัดอื่นๆ เพื่อกำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหาความเครียดให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมและวัฒนธรรมต่อไป
Abstract: The study of a situation and Buddhist management of stresses: a case study of sangha in Nakorn Nayok and Srakaew Provinces. This mixed-method study had three objectives: to analyze stressful situations and methods of stress management used by monks in Nakorn Nayok and Srakaew provinces; to analyze core Buddhist teachings and their application in a stress management program; to propose guidelines in correspondence to modern social contexts. The research tools comprised a survey of 262 monks employing the Yamane sampling method; an interview of 15 Buddhism experts (monks and academics); focus group discussions and workshops. The research found that the main stress factor the monks faced was anxiety caused by their obligation to help people solve their problems, followed by indirect negative impact caused by stressful people in their immediate community, and anxiety about their own health problems. The findings led to three suggestions. First, the monks in charge of administration and management should develop co-learning processes related to job management and allocation skills. In addition, laypeople should be given more opportunities to arrange religious activities in collaboration with monks. Second, four main Buddhist concepts, The Three characteristics or “trilaksana”, the Four Noble Truths, Critical Reflection, and Mindfulness & Meditation, should be applied in stress management as they can assist monks in problem solving and reasoning processes by identifying causes of problems and finding solutions, guided by mindfulness and wisdom. Third, to apply Buddhist teachings in modern contexts, it is useful for monks to learn more about healthy living concepts. Not only can monks maximize their potential to achieve good health, they can promote such ideas among Buddhist laypeople. Most importantly, this would help re-establish the role of the temple as the center of the community. It is expected that this would reduce the stress of monks. Finally, to support the future changes as recommended, two activities should be incorporated. First, a mobile health checkup service for monks should be provided by the Offices of Buddhism in Nakhon Nayok and Srakaew to be a starting point to collect information for a database for future holistic healthcare improvement. Last, the guidelines from this research should be applied and implemented in other provinces by the Office of National Buddhism with the aim of gaining more information about stress in the monkhood.
URI: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245634
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29729
Appears in Collections:Soc-Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.