Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29725
ชื่อเรื่อง: นวัตกรรมทางสังคมกับแนวทางการพัฒนาเครือข่าย สัมมาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: SOCIAL INNOVATION AND THE METHOD OF DEVELOPMENT FOR SUSTAINABLE COMMUNITY LIVELIHOOD NETWORK
ผู้แต่ง: ชลวิทย์ เจียรจิตต์
ชัยวัชร พรหมจิตติพงศ์
ธันนิกานต์ สูญสิ้นภัย
สายชล ปัญญชิต
ภูเบศ วณิชชานนท์
Keywords: นวัตกรรมทางสังคม
การพัฒนาชุมชน
ความยั่งยืน
เครือข่ายสัมมาชีพ
ชุมชน
Social Innovation
Community Development
Sustainable
Livelihood Network
Community
วันที่เผยแพร่: 2565
Abstract(TH): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาเครือข่ายสัมมาชีพ 2) ถอดบทเรียนแนวทางการยกระดับศักยภาพเครือข่ายสัมมาชีพให้มีความยั่งยืน และ 3) พัฒนารูปแบบการสร้างนวัตกรรมเครือข่ายสัมมาชีพ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้แทนกลุ่มสมาชิกภายในชุมชนของเครือข่ายสัมมาชีพและผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวน 60 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยมีเครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสนทนากลุ่ม อาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบและการวิเคราะห์แบบแก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาเครือข่ายสัมมาชีพ พบว่า องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นและสามารถสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายสัมมาชีพได้คือ องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้การบริหารกลุ่มอย่างมีส่วนร่วม ภายใต้ปัจจัยความสำเร็จ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการสื่อสาร ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านความเสียสละ และด้านการสรุปบทเรียน 2) ถอดบทเรียนแนวทางการยกระดับศักยภาพเครือข่ายสัมมาชีพให้มีความยั่งยืน พบว่า การยกระดับเครือข่ายสัมมาชีพจำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้เพื่อเข้าใจพื้นที่ การปรับใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมโดยเฉพาะนวัตกรรมเครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็ง ความยั่งยืนในการพัฒนา และการมุ่งสู่การพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ และ 3) พัฒนารูปแบบการสร้างนวัตกรรมเครือข่ายสัมมาชีพ พบว่า การพัฒนารูปแบบการสร้างนวัตกรรมเครือข่ายสัมมาชีพสู่ระดับนโยบายจะต้องอาศัยการสร้างผู้นำ การสร้างเครือข่ายผ่านกิจกรรมการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม และการติดตามประเมินผลเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
บทคัดย่อ: This research aimed: 1. To investigate the factors of successful livelihood network development, 2. To gain lesson-learnt knowledge forms of network’s sustainable development approaches, and 3. To develop the social innovation of the community livelihood. Qualitative research method was employed to collect data from 60 key informants, purposefully selected from the community livelihood members, and relevant governmental units, by in-depth-interviewing and focus group discussions. The findings revealed that 1. Factors affecting the success of the livelihood network development were found the knowledge of local wisdom and the knowledge of participatory group administration could support the livelihood network development. There were 4 factors affecting the success of the livelihood network development: communication, creativity, sacrifice, and lesson-learned conclusion. 2. Lesson-learned to upgrade the livelihood network development required the learning of its location, the uses of appropriate technology and innovation, particularly the strong innovative social network, sustainable development, and creative changes. In addition, the drive and extension of the innovative livelihood network toward the policy level also required leadership, participating activities among the networks, as well as the evaluation, to exchange the knowledge of community product development.
URI: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255373
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29725
Appears in Collections:Soc-Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.