Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29724
Title: กรุงเทพฯ เมืองสุขภาพดี : พื้นที่สุขภาวะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กับการสร้างวิถีชีวิตทางสุขภาพของคนเมือง
Other Titles: Bangkok, a Healthy City: Srinakharinwirot University's HealthySpace and Creating a Healthy Lifestyle for Urban Dwellers
Authors: ชลวิทย์ เจียรจิตต์
Keywords: กรุงเทพมหานคร
พื้นที่สุขภาวะ
วิถีชีวิตทางสุขภาพ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Bangkok
Healthy Space
Healthy Lifestyle
Srinakharinwirot University
Issue Date: 2566
Abstract(TH): ท่ามกลางสังคมเสี่ยงภัย สุขภาวะถือเป็นประเด็นสำคัญในปัจจุบันที่จะต้องมีการทำความเข้าใจโดยการอาศัยมุมมองทางสังคมวิทยาและวิทยาศาสตร์ สุขภาพ ประกอบกับความเสี่ยงทางพื้นที่สาธารณะที่ลดน้อยลงส่งผลให้คนเมืองกำลังเผชิญกับอุปสรรคในการมีพื้นที่สุขภาวะเพื่อแสดงออกถึงวิถีชีวิตทางสุขภาพในช่วงเวลาว่าง การศึกษานี้จึงดำเนินการตามแนวทางการศึกษาแบบอัตชาติพันธุ์วรรณนาเป็นหลักเพื่อพยายามทำความเข้าใจวิถีชีวิตทางสุขภาพในพื้นที่สุขภาวะและถอดบทเรียนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิถีชีวิตทางสุขภาพดำรงอยู่ระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมและการรับรู้สถานะสุขภาพด้วยการประเมินสถานะสุขภาพตามอย่างวิทยาศาสตร์สุขภาพ และขึ้นอยู่กับเวลาว่างในชีวิตประจำวัน การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะจึงพยายามพัฒนาให้ตอบสนองต่อวิถีชีวิตทางสุขภาพซึ่งจะต้องอาศัยทุนสำคัญ 2 ประการ คือ ทุนเชิงพื้นที่ และทุนทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะพัฒนาต่อไปได้
Abstract: In the midst of a risky society, well-being is an important issue today that needs to be understood by relying on sociological and healthscience perspectives. Coupled with the risk factor of dwindling publicspaces, urbanites are facing barriers to havinga healthy space toexpress themselves with a healthy lifestyle during leisure time. This study was therefore conducted primarily by utilizing an autoethnographyto understand the health lifestyle in the healthy space and lessons learned in the developmentof the healthy space of Srinakharinwirot University. The results show that a healthy lifestyle exists betweenrelationships between social factors and health status recognition by assessing health status based on health sciences and based on freetime in everyday life. The development of healthy space therefore seeks to be developed in response to a healthy lifestyle. This will require two important grants: spatial capital and human capital asimportant factors in the further development of healthy space.
URI: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/263758
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29724
Appears in Collections:Soc-Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.