Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29723
ชื่อเรื่อง: | การสำรวจและติดตามการดำเนินงานการปฏิรูป ด้านกฎหมายของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | THE SURVEY AND MONITORING ON LEGAL REFORM PROCESS OF THAILAND |
ผู้แต่ง: | ภูมิ มูลศิลป์ ศิริพร ดาบเพชร จุลศักดิ์ ชาญณรงค์ ชูเดช โลศิริ อัญชลี ศรีกลชาญ วิศรุต สำลีอ่อน |
Keywords: | การดำเนินงาน การปฏิรูปกฎหมาย mplement Reform Law |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
Abstract(TH): | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ติดตามและประเมินการดำเนินงานด้านการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย (2) ทราบปัญหาและข้อเสนอแนะการดำเนินงานการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เอกสาร (Document analysis) บันทึกการสนทนากลุ่ม(Focus group discussion) การวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi - structure Interview) และการประชุมกลุ่มเชิงปฏิบัติการ (Workshop group meeting) ผลจากการศึกษาพบว่า ผลการดำเนินการที่ผ่านมามี 3 กิจกรรมปฏิรูปที่ดำเนินการสำเร็จและบรรลุตามตัวชี้วัดและเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ได้แก่ (1) จัดให้มีกลไกยกเลิกหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่สร้างภาระหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชน (2) จัดให้มีกลไกกำหนดส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ควบคุม กำกับดูแลและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย นำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย และ (3) จัดให้มีกลไกช่วยเหลือประชาชนในการจัดทำและเสนอร่างกฎหมาย อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัญหาในการดำเนินการเนื่องจากมีแผนงานจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปด้านกฎหมาย อีกทั้งขั้นตอนการปฏิรูปด้านกฎหมายมีความสลับซับซ้อนส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ ดังนั้น ควรกำหนดการดำเนินงานการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายเป็น 3 ระยะ คือ มาตรการระยะสั้น มาตรการระยะกลาง และมาตรการระยะยาว ตามหลักการบริหาร 4M |
บทคัดย่อ: | The research on survey and monitoring on legal reform process of Thailand aims to 1) monitor and assess the implementation of legal reforms; and 2) know problems and recommendations for the implementation of legal reforms. This research was a qualitative research with document analysis, focus group discussion, semi-structured interview, and workshop group meeting. The results found that there were 3 reform activities that have been successfully implemented and achieved according to the indicators and goals that have been set as follows: (1) provide a mechanism for repeal or amendment of laws that create burdens or hinder the lives or occupations of the people; (2) provide a mechanism to determine the government agencies having the duty to control, supervise, and enforce compliance with the law. Implementing technology in action to increase law enforcement efficiency; and (3) provide a mechanism to assist people in preparing and initiating laws. However, there are problems to implement due to the number of plans involved in legal reforms. In addition, the legal reform process is complex, resulting in problems in the implementation of the policy. Therefore, the implementation of national legal reforms should be set into 3 phases: short-term measures; medium term measures and long-term measures according to 4M management principles. |
URI: | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/260986 https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29723 |
Appears in Collections: | Soc-Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.