Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29721
Title: มาตรการทางกฎหมายในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน
Other Titles: LEGAL MEASURES FOR HIRING ELDERLY WORKERS IN THE PRIVATE SECTOR
Authors: พรเพ็ญ ไตรพงษ์
กัลยา ตัณศิริ
ภูมิ มูลศิลป์
สมจิตร์ ทองศรี
Keywords: มาตรการทางกฎหมาย
การจ้างแรงงานผู้สูงอายุ
ภาคเอกชน
Legal measures
hiring elderly workers
the private sector
Issue Date: 2562
Abstract(TH): การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน เปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในภาคเอกชนของประเทศไทยและต่างประเทศ และนำผลการศึกษาวิเคราะห์และแสวงหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความสมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้เทคนิคผสมผสานระหว่างการวิจัยเอกสาร (Document Research) การสัมภาษณ์ (Interview) โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน 4 กลุ่ม จำนวน 23 คน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายและผู้สูงอายุ จำนวน 8 คน จากการวิจัยพบว่า ประเทศไทยได้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เป็นกฎหมายแม่บทในการคุ้มครองแรงงาน และยังมีพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ที่บัญญัติเกี่ยวกับผู้สูงอายุไว้ ถึงแม้ว่ากฎหมายจะมีข้อกฎหมายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน แต่ยังไม่มีระบุชัดเจนถึงแรงงานผู้สูงอายุด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของญี่ปุ่น ที่กำหนดไว้ที่อายุ 60 ปี แต่มีแนวโน้มขยายเกณฑ์อายุออกไปให้มีอายุมากกว่า 60 ปี แต่เยอรมนี ฝรั่งเศส เกาหลี อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย กำหนดไว้ที่อายุ 65 ปี ส่วนสิงคโปร์ที่กำหนดไว้ที่อายุ 67 ปี ด้านผลการวิจัยปัญหาการกำหนดอัตราส่วนการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ พบว่า เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีการวางมาตรการทางกฎหมายในเรื่องการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ จึงยังไม่มีการกำหนดอัตราส่วนการจ้างแรงงานผู้สูงอายุไว้ แต่สำหรับคนพิการมีมาตรการกำหนดอัตราส่วนการจ้างแรงงานคนพิการให้นายจ้างและหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะของงานในอัตราส่วนที่เหมาะสม ส่วนแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความสมบูรณ์ ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพให้ผู้มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์และสิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ ถึงแม้ว่าเงินบำนาญชราภาพและเงินบำเหน็จชราภาพเป็นการบัญญัติกำหนดอายุของผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจากกองทุนประกันสังคมเท่านั้น แต่ถ้าลูกจ้างที่มีอายุ 55 ปียังคงทำงานอยู่ก็ยังถือเป็นผู้ประกันตนที่ต้องส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมแต่ไม่มีสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพจึงทำให้ส่วนใหญ่ภาคเอกชนจึงกำหนดอายุเกษียณไว้ที่อายุ 55 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 118 วรรคสอง นอกจากนี้ แนวทางการพัฒนากฎหมายในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน สามารถทำได้โดยการแก้ไขเพิ่มเติมการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุเช่นเดียวกับการคุ้มครองแรงงาน สตรี เด็ก แรงงานทั่วไป จึงควรมีการคุ้มครองแรงงานเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ โดยเพิ่มหมวดผู้สูงอายุขึ้นมา เพื่อคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ
Abstract: This research aims to study the problems and legal measures in hiring elderly workers in the private sector. Comparison of laws regarding the employment of elderly workers in the private sector of Thailand and abroad And bring the results of the study to analyze and seek appropriate legal measures to improve the law to be complete and beneficial to the nation Conduct research using qualitative research. Using a combination of document research. Interviews the sample group is interested in employing 4 elderly workers in the private sector, 23 people and Focus Group by 8 legal experts and seniors. Research indicates that Thailand has the Labor Protection Act BE 2541 as the master law for labor protection. And still have the Elderly Act 2003, which stipulates about the elderly Although the law has clear laws regarding labor protection But not yet clear to the elderly workers When compared to the laws of Japan at the age of 60. But has a tendency to extend the age limit to be more than 60 years old, but Germany France Korea United Kingdom United States And Australia Determine the age criteria for retirement at the age of 65. In Singapore at the age of 67. As for the research results, legal problems in determining the employment ratio of the elderly workers from the study found that, because at present, there has been no legal measures regarding the employment of elderly workers. Therefore, the ratio of the employment of elderly workers has not yet been determined. But for people with disabilities, there is a measure to determine the ratio of employment of disabled workers to employers and government agencies to accept people with disabilities to work according to the nature of work in the appropriate ratio. As for the guidelines to improve the law to be complete There should be an amendment to the old age benefit scheme for those who are 60 years of age and terminate being an employee with the right to receive old age benefits. Although the old age pension and old age pension are the only provisions for the age of those who have the right to receive old age benefits from the Social Security Fund. But if an employee who is 55 years old is still working, it is still considered as an insured person who has to send contributions to the social security fund but does not have benefits in the old age. With Section 118 paragraph two. In addition, the law development guidelines for hiring elderly workers in the private sector Can be done by modifying the protection of elderly workers, as well as the protection of women workers, children, general workers, so there should be protection of labor for the elderly By adding the elderly category To protect elderly workers.
URI: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/201643
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29721
Appears in Collections:Soc-Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.