Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29719
Title: ผลกระทบที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
Other Titles: THE IMPACT OF ENFORCEMENT OF THE PERSONAL DATA PROTECTIONACT B.E. 2562
Authors: ภูมิ มูลศิลป์
พรเพ็ญ ไตรพงษ์
พิชชา ใจสมคม
Keywords: ผลกระทบ
การบังคับใช้กฎหมาย
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
Impact
Law enforcement
Personal Data Protection Act B.E. 2562
Issue Date: 2565
Abstract(TH): บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวในต่างประเทศ 2) ศึกษาผลกระทบในมิติทางสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะต่อการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกระบวนการเก็บข้อมูลแบบพหุวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีหลักการเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่ได้รับอนุญาต สหภาพยุโรปมี The General Data Protection Regulation (GDPR) ส่งผลกระทบต่อภาระต้นทุนดำเนินการของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม สหรัฐอเมริกามีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลทั้งกฎหมายกลางและระดับมลรัฐทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีความแตกต่างกัน สิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าทำให้เกิดความไว้ใจจากภาคธุรกิจ ส่วนออสเตรเลียมีคำจำกัดความ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ที่ยืดหยุ่นทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการข้อมูลเมื่อเวลาผ่านไป 2) ในกรณีของประเทศไทย ผลกระทบด้านสังคมพบว่า ทุกภาคส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนจึงอาจเกิดปัญหาภายหลังการบังคับใช้ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจพบว่า กฎหมายดังกล่าวส่งผลต่อภาระและต้นทุนของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งอาจมีปัญหาต่อความน่าเชื่อถือ การตลาดและการค้าระหว่างประเทศ 3) ควรส่งเสริมความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานตามกฎหมายแบบเชิงรุกเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการบังคับใช้กฎหมายฉบับดังกล่าวให้เกิดประสิทธิภาพ
Abstract: The objectives of this research article were to 1) study the legal principles of personal data protection and the implications of enforcing such laws in other countries, 2) study the impacts of social and economic dimensions arising from the enforcement of the Personal Data Protection Act B.E. 2562, and 3) make recommendations on the enforcement of the Personal Data Protection Act B.E. 2562. This research was qualitative research. There is a multi-method collecting process to obtain information. The study found that the personal data protection law has principles regarding the rights of personal data subjects, establish standards for the protection of personal information, and use it for the intended purpose with the permitted consent. The EU's General Data Protection Regulation (GDPR) which had the effect of law enforcement in terms of operating costs, disadvantages for small and medium enterprises. The United States has data protection laws that exist in both national and state laws and make law enforcement different. Singapore, there was emphasis on the security of information that is particularly personal and sensitive to customers which increases the trust of businesses. Meanwhile, Australia has a flexible definition of “personal data” which allows for changes in the way information is handled over time. In case of Thailand, social impacts, all sectors still lack knowledge and understanding, and lack of clear and comprehensive guidelines, problems may arise after enforcement. Economic impact is the burdens and costs of middle and small operators. This can be a problem for reliability marketing and international trade. Recommendations is knowledge, understanding and proactive approach to legal implementation should be promoted in order to prepare before the law is effective.
URI: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/259114
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29719
Appears in Collections:Soc-Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.