Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29717
Title: การเผาป่า และหมอกควันข้ามแดน: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศอินโดนีเซีย
Other Titles: Forest Fires and Transboundary Haze: A Case Study of the Palm Oil Industry in Indonesia
Authors: พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์
ภูมิ มูลศิลป์
Keywords: หมอกควันข้ามแดน
อินโดนีเซีย
อาเซียน
ระบบอุปถัมภ์
อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
transboundary haze
Indonesia
ASEAN
patronage system
palm oil industry
Issue Date: 2561
Abstract(TH): มลพิษจากหมอกควันข้ามแดนเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคอาเซียนซึ่งมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันในแต่ละปี สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการตัดไม้ทำลายป่า และเผาป่าไม้ในบริเวณพื้นที่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการถางพื้นที่เตรียมที่ดินไว้ใช้ในการเพาะปลูกพืชทางการเกษตร เช่น ไม้เนื้อแข็งเพื่อนำเยื่อไม้ไปทำกระดาษ ยางพารา และที่สำคัญอย่างยิ่งคือปาล์มน้ำมัน พื้นที่ที่ถูกเผาบางส่วนถูกเผาโดยชาวนาหรือชาวสวนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ แต่บางพื้นที่ที่ถูกเผาเป็นบริเวณกว้างอยู่ในเขตพื้นที่ของบริษัทที่ทำอุตสาหกรรมทางการเกษตรขนาดใหญ่ การเผาพื้นที่แบบผิดกฎหมายลักษณะนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอินโดนีเซีย หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเชื่อว่าเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาต้นเหตุของปัญหาหมอกควันข้ามแดนดังกล่าว โดยใช้ทฤษฎีระบบอุปถัมภ์ เพื่ออธิบายถึงต้นเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาหมอกควันของรัฐบาลอินโดนีเซียจากอดีตถึงปัจจุบัน และในบทสรุปสุดท้ายของการวิจัย ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ผลการวิจัยเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อนโยบายของประเทศไทยและอาเซียนในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันข้ามแดนในภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
Abstract: Transboundary air pollution has been a recurrent phenomenon in the ASEAN region to various degrees over the years. These incidences have arisen due mainly to the cumulative effect of slash and burn and/or other types of moderate to large-scale burning to clear land for growing agricultural crops such as pulp wood, rubber and, especially, oil palm. Some of the plots are held by small holder farmers while a good proportion belong to large plantation owners. These illegal burning activities, particularly in Indonesia, are believed to have caused haze across the Southeast Asian region. Based on the patronage system theory, this paper aims to investigate the causes of transboundary haze in the region with a particular focus on Indonesia as well as on how Indonesian governments have responded to this issue over time. In conclusion, this paper offers policy suggestions to deal with regional haze problem both for the Thai government and ASEAN.
URI: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/751
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29717
Appears in Collections:Soc-Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.