Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29694
Title: ป้ายร้านอาหารริมทางย่านเยาวราชและย่านจตุจักร: การวิเคราะห์ตามแนวภูมิทัศน์สัญศาสตร์
Other Titles: ROADSIDE RESTAURANT SIGNS IN YAOWARAT AND CHATUCHAK: SEMIOTIC LANDSCAPES ANALYSIS
Authors: ภาษร วิรุณพันธ์
ศิริพร ปัญญาเมธีกุล
Keywords: ภูมิทัศน์สัญศาสตร์
ป้ายร้านอาหารริมทาง
กรุงเทพมหานคร
semiotic landscapes
roadside restaurant signs
Bangkok
Issue Date: 2562
Abstract(TH): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของป้ายร้านอาหารริมทางในย่านเยาวราชและ ย่านจตุจักร โดยใช้แนวคิดภูมิทัศน์สัญศาสตร์โดยเก็บข้อมูลจากป้ายร้านอาหารริมทางย่านเยาวราช จํานวน 47 ป้าย ย่านจตุจักร 42 ป้าย รวมทั้งหมด 89 ป้าย ผลการวิเคราะห์พบว่าป้ายร้านอาหารริมทางมี ลักษณะ ดังนี้1) สี สีพื้นหลังบนป้ายทั้งย่านเยาวราชและย่านจตุจักร ผู้ประกอบการนิยมใช้สีขาวเป็นหลัก ส่วนสีตัวอักษรที่ผู้ประกอบนิยมใช้ทั้งในย่านเยาวราชและย่านจตุจักร คือ สีแดงและสีดํา 2) ชื่อร้าน ย่าน เยาวราชมีป้ายที่มีชื่อร้านมากกว่าป้ายย่านจตุจักรแสดงให้เห็นถึงการให้ความสําคัญกับชื่อ 3) รายการ อาหารและเครื่องดื่ม ป้ายย่านเยาวราช รายการอาหารปรากฏในตําแหน่งรองจากชื่อร้านมากที่สุด ส่วน ย่านจตุจักร รายการอาหารและเครื่องดื่มปรากฏอยู่ในตําแหน่งด้านบนของป้ายเสมอ 4) รายละเอียด/ ข้อมูลเพิ่มเติม ป้ายย่านเยาวราชผู้ประกอบการให้ความสําคัญกับข้อความที่เกี่ยวข้องเวลา/สถานที่/การ ติดต่อ และลักษณะเด่นเฉพาะ/พิเศษ ส่วนป้ายย่านจตุจักรผู้ประกอบการให้ความสําคัญกับลักษณะเด่น เฉพาะ/พิเศษมากที่สุด 5) ราคา ป้ายในย่านเยาวราชปรากฎการจัดวางราคาด้านขวามากที่สุด ส่วนย่าน จตุจักรปรากฏการจัดวางราคาด้านล่างด้านขวามากที่สุด 6) สัญลักษณ์/โลโก้ ป้ายย่านเยาวราชมีการใช้ สัญลักษณ์/โลโก้มากกว่าย่านจตุจักร และ 7) รูปภาพอาหารและเครื่องดื่ม ป้ายร้านอาหารริมทางย่าน จตุจักรเน้นรูปภาพอาหารและเครื่องดื่มมากกว่าย่านเยาวราช
Abstract: This research aims to analyze the composition of roadside restaurant signs in the Yaowarat and Chatuchak districts of Bangkok. Using a semiotic landscape approach, the data was collected from 47 restaurant signs in Yaowarat and 42 from Chatuchak, including 89 signs total. The results showed that (1) Color: the most popular background color was white, followed by red and yellow in both Yaowarat and Chatuchak. The most popular font colors were red and black; (2) Name: Yaowarat quarter had more named signs than Chatuchak, showing the importance of names in this area; (3) List of food and drinks: Yaowarat has signs for food and drinks second most, after the name. Chatuchak, the list of food and drinks always appear on top of the sign; (4) Details and information: Yaowarat contained information about time, place. contact and special features while those in Chatuchak focused on the most special features; (5) Price: Yaowarat display prices on the right while those in Chatuchak display them on the bottom right; (6) Logo: Yaowarat signs used more logos than those in Chatuchak; and (7) Photographs of food and drinks: Chatuchak signs focused more on photographs of food and drinks than those in Yaowarat.
URI: http://rs.mfu.ac.th/ojs/index.php/vacana/article/view/250
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29694
Appears in Collections:Ling-Journal articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.