Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29642
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยอย่างไร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: How does the movement of exchange rate affect listed firms in Thailand?
ผู้แต่ง: สันติ เติมประเสริฐสกุล
ปิยดา สมบัติวัฒนา
Keywords: อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาหลักทรัพย์
บริษัท
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: สาขาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประมาณค่าสัมประสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนที่กระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย งานวิจัยนี้มีความแตกต่างจากงานวิจัยก่อนหน้าอยู่ 3 ประการด้วยกัน ประการแรก งานวิจัยนี้เน้นการศึกษาบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้น โดยงานวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างถึง 300 บริษัท ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2550 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2559 ประการที่สอง งานวิจัยนี้นอกจากใช้วิธีการประมาณการค่าสัมประสิทธิ์การการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนที่กระทบต่อราคาหลักทรัพย์ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Square) แล้วยังใช้วิธีแบบโมเมนต์แบบทั่วไป (Generalized Method of Moments) เพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาการกำหนดจากภายใน (Endogeneity Problem) ซึ่งงานวิจัยก่อนหน้าได้ละเลยปัญหานี้ในการประมาณการ และประการสุดท้าย งานวิจัยนี้แก้ปัญหาเรื่องขนาดของบริษัทซึ่งเป็นปัจจัยในการกำหนดค่าสัมประสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนที่กระทบต่อราคาหลักทรัพย์ที่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน โดยการแบ่งขนาดของบริษัทออกเป็น 4 ควอไทล์ตามมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) ได้แก่บริษัทขนาดใหญ่ (Q1) บริษัทขนาดกลาง-ใหญ่ (Q2) บริษัทขนาดกลาง-เล็ก (Q3) และบริษัทขนาดเล็ก (Q4) เพื่อดูว่าระดับของค่าสัมประสิทธิ์การการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนที่กระทบต่อราคาหลักทรัพย์ในแต่ละควอไทล์มีความแตกต่างกันอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนที่กระทบต่อราคาหลักทรัพย์มีค่าเป็นลบ ไม่ว่าจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบใด หรือใช้ข้อมูลรายเดือน หรือรายสัปดาห์ ซึ่งหมายความว่าเมื่อค่าเงินบาทอ่อนค่าเทียบกับสกุลเงินคู่ค้า บริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยได้รับผลกระทบในเชิงลบ โดยบริษัทในควอไทล์ที่ 3 มีค่าเฉลี่ยของขนาดสัมประสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนสูงสุด นั่นแสดงให้เห็นว่าบริษัทขนาดกลาง-เล็ก (Q3) ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนมากสุด ในขณะที่บริษัทในควอไทล์ที่ 1 มีค่าเฉลี่ยของขนาดสัมประสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนต่าสุด นั่นแสดงให้เห็นว่าบริษัทขนาดใหญ่ (Q1) ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนน้อยสุด ทั้งนี้จำนวนบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนมากที่สุดอยู่ที่บริษัทขนาดกลาง-เล็ก (Q3) ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.10 ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยของขนาดสัมประสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินยูโร มีค่าสูงสุด เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ นั่นแสดงให้เห็นว่าบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในสกุลเงินยูโรมากสุด
บทคัดย่อ: This research paper aims to study the exchange rate exposure of listed firms in Thailand. This paper contributes to the literature as follows; firstly, the paper covers a large sample of 300 non-financial listed Thai firms affected by the exchange rate fluctuation. The period of examination starts from January 2007 to December 2016. using the monthly and weekly data. Secondly, this paper not only applies the Ordinary Least Square (OLS) for estimation but also uses the Generalized Method of Moments (GMM) to alleviate the endogeneity problem which several previous papers studying the exchange rate exposure in Thailand always omitted this problem. Finally, this paper contributes to the solution of firm’s size which has always been the determinant puzzle for previous papers. The 300 Thai firms are classified into 4 quartiles regarding to their market capitalization. The 1st quartile represents the large firms which include most firms listed in SET50 and SET100. The 2nd and the 3rd quartile represent mid-large and mid-small firms. The 4th quartile represents the small firms. This paper investigates how firms in different quartiles affected by the exchange rate movement. The results reveal that the average exchange rate exposure of Thai firms is negative, regardless any currencies, inferring that most Thai firms will have negative impact when Thai Baht depreciates against foreign currencies. Additionally, firms in the 3rd quartiles have the highest magnitude of exchange rate exposure, indicating that mid-small firms are mostly affected by the exchange rate fluctuation. On the contrary, firms in the 1st quartile have the lowest magnitude of exchange rate exposure, indicating that large firms are less affected by the exchange rate fluctuation. The results also confirm that most firms in the 3rd quartile are significantly exposed to the exchange rate movement at a significance level of 0.10. Lastly, the magnitude of exchange rate exposure estimating by Euro currency has the higest value, indicating that the value of Thai firms is mostly affected by the change in Euro.
รายละเอียด: โครงการวิจัยเงินรายได้ คณะสังคมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2559
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29642
Appears in Collections:Bus-Technical Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Soc-Santi-T-2560.pdf3.08 MBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.