Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29641
ชื่อเรื่อง: | รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ |
ผู้แต่ง: | ปิยดา สมบัติวัฒนา |
Keywords: | สินเชื่อ พิโกไฟแนนซ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Abstract(TH): | การวิจัยเรื่อง ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จของการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ในมุมมองของหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแล 2) ศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จของการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ในมุมมองของผู้ประกอบการธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ 3) ศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จของการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ในมุมมองของประชาชนทั่วไปที่มีประสบกรณ์เกี่ยวกับการกู้ยืมหนี้นอกระบบ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ จำนวน 2 คน ตัวแทนของสถานประกอบการธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 แห่ง ประชาชนที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการกู้ยืมหรือให้กู้ยืมนอกระบบ จำนวน 13 คน วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยนำข้อมูลที่ได้ไปเทียบเคียงกับแนวคิดการแพร่กระจายของนวัตกรรม (Diffusion of innovation) ของรอเจอร์ส (Rogers, 2003) ผลการวิจัยพบว่า ในมุมมองของตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ประกอบด้วย ความคุ้นเคยระหว่างผู้ประกอบการกับผู้กู้ ทักษะการบริหารจัดการ และการดำเนินการทางกฎหมายกรณีผิดนัดชาระหนี้ ในขณะที่ผู้ประกอบการ มีความเห็นว่า ความเข้าใจต่อลักษณะเฉพาะของธุรกิจ พฤติกรรมของผู้กู้ และการใช้เทคโนโลยีประกอบการดำเนินธุรกิจ เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งแตกต่างจากประชาชนที่ระบุว่า การเผยแพร่ข้อมูลการให้บริการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ความรวดเร็วในการอนุมัติเงินกู้ และวงเงินกู้ที่สูงกว่าที่กำหนดในปัจจุบัน เป็นเงื่อนไขของความสำเร็จของธุรกิจนี้ ด้วยข้อมูลที่สรุปได้จากความเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้อง พบว่า สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์มีคุณสมบัติในด้านความไม่สลับซับซ้อนของสินเชื่อ การให้ประชาชนได้มีโอกาสทดลองกู้ยืมจากผู้ประกอบการธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ และการทราบถึงผลการกู้ยืมสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ เป็นคุณสมบัติของสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ที่ช่วยให้การแพร่กระจายนวัตกรรมการเงินรูปแบบใหม่นี้ ได้รับความสนใจจากประชาชน แต่อย่างไรก็ตาม ยังขาดความเข้าใจที่ตรงกันของผู้สนับสนุนและผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ ในประเด็นของประโยชน์ที่โดดเด่นของสินเชื่อประเภทนี้ และความเข้ากันได้ระหว่างลักษณะเฉพาะของสินเชื่อกับคุณค่า ประสบการณ์และความต้องการจำเป็นของผู้กู้สำหรับการกู้ยืมในลักษณะดังกล่าว |
บทคัดย่อ: | This research on key success factors for PICO finance business aims to 1) study business’s key success factors in perspective of related government agency 2) study business’s key success factors in perspective of PICO finance business ownerห 3) study business’s key success factors in perspective of Thai people who have experiences with outlaw debt. The qualitative research, with in-depth interview technique, is conducted. Key informants consist of 2 representatives from related government agency, 9 business owners of 6 entities, and 13 people who have experiences with outlaw debt. The results show that familiarity between lenders and borrowers, management skill, and legal operations when debt default are key success factors for the business in the viewpoint of government agency’s representatives. While business owners present that clearly understanding on specific attribute of the business, notion on borrower’s behavior and utilizing proper technology should be key success factors. Nonetheless, people who have experiences with outlaw debt express that more publicizing the business, speed of loan approval and higher credit line are important for expanding of the business. According to the results, I summarize, based on diffusion of innovation concept (Rogers, 2003), that the attributes of PICO finance to acquire higher rate of adoption are less complexity product, trial ability and observability. However, incongruence in the opinion about outstanding relative advantages of PICO finance and competing debt and the compatibility of products with values, past experiences and needs of outlaw debt borrowers are two properties which are hindrance for widespread adoption. |
รายละเอียด: | ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (เงินรายได้คณะสังคมศาสตร์) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 |
URI: | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29641 |
Appears in Collections: | Bus-Technical Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Soc-Piyada-S-2561.pdf | 1.37 MB | View/Open |
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.