Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29616
Title: การปรับปรุงแผนการผลิต กรณีศึกษาโรงงานผลิตตู้เย็น
Other Titles: Improvement in production planning: a case study of refrigerator manufacturing company
Advisor : รติรัตน์ กิตติปัญญาพัฒน์
นิลวรรณ ชุ่มฤทธิ์
Authors: อาทิตยา ทองใบ
Keywords: การวางแผนการผลิตรวม
แผนการผลิต
Issue Date: 2562
Publisher: สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): โครงงานวิศวกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแผนการผลิตเมื่อความต้องการสินค้าเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งบริษัทกรณีศึกษาเป็นบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น พบปัญหาสถานที่เก็บสินค้าไม่เพียงพอต่อการจัดเก็บ ซึ่งต้นเหตุของปัญหานี้แท้จริงแล้วเกิดจากการผลิตที่มากเกินไป จึงส่งผลให้พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อเก็บสินค้าคงคลังรอส่งมอบ ทำให้เสียต้นทุนมากในการจัดเก็บสินค้าไปโดยที่มูลค่าของสินค้ายังคงเท่าเดิม และพบว่าความต้องการสินค้าลดลงจากที่เคยพยากรณ์ความต้องการไว้ก่อนหน้า ทำให้ต้องทบทวนแผนการผลิตที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่เป็นแผนการผลิตแบบคงที่ ที่อัตรา การผลิต 640 ตู้ต่อวัน จึงทำการปรับปรุงให้เป็นแผนการผลิตที่ปรับตามความต้องการสินค้าจริง โดยใช้หลักการวางแผนการผลิตรวม มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงแผนการผลิตให้เหมาะสมกับคำสั่งซื้อและลดต้นทุนที่ใช้ในการจัดเก็บสินค้าคงคลังรอส่งมอบ ผลจากการปรับปรุงแผนการผลิต สามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผลิตและการจัดเก็บสินค้าที่มากเกินไปได้เป็นเงิน 116,184 บาท คิดเป็นร้อยละ 60.24 ของแผนการผลิตเดิม
Abstract: The objective of this engineering project is to review production plans when product demand changes. The company, a case study, is an electrical appliance manufacturer. From the initial data survey there was a problem of insufficient storage which was the actual root cause. Also there was the over production. Resulting in the loss of the whole space was used to store inventory pending for delivery. Resulting in a high cost of product storage while the value of the product is stable. It was found that the products demand was decreased from previously forecasting. Therefore the current production plan with fixed rate 640 pieces per day should be reviewed. By adjusting to be a plan with actual demand by using the principle of aggregate planning. The goal is to improve the production plan to be suitable for the purchase order and the cost reduction of inventory storage pending for delivery. The result of the improvement in the production plan can reduce the cost of production and storage of excessive products by 116,184 baht or 60.24% of the original production plan.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29616
Appears in Collections:IndEng-Bachelor's Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Artittaya_T.pdf
  Restricted Access
2.77 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.