Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29021
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์พลังงานเพิ่มสุทธิและวอเตอร์ฟุตพรินต์จากขั้นตอนการเพาะปลูกถึงการใช้งาน: กรณีศึกษาการผลิตเอทานอลจากข้าวโพดในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Well-to-wheel net energy gain and water footprint analysis: A case study of corn ethanol production in Thailand
Advisor : อัญชลี สุวรรณมณี
ผู้แต่ง: ณิชนันทน์ เจริญเนตร์
พรพรรณ ศิลปการบวร
Keywords: เอทานอล
ข้าวโพด
วอเตอร์ฟุตพรินต์
พลังงานเพิ่มสุทธิ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): โครงงานวิศวกรรมเคมีนี้ทำการศึกษาประสิทธิภาพเชิงพลังงานหรือพลังงานเพิ่มสุทธิ และ วอเตอร์ฟุตพรินต์ของการผลิตเอทานอลบริสุทธิ์ร้อยละ 99.5 จากข้าวโพด กับวัตถุดิบชนิดต่าง ๆ ที่ ใช้ในการผลิตเอทานอล โดยใช้เทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิต ดำเนินงานตามมาตรฐาน ISO 14040 (2006) และ ISO 14046 (2006) โดยกำหนดหน่วยหน้าที่การทำงานเป็นเอทานอลบริสุทธิ์ ร้อยละ 99.5 จากข้าวโพดปริมาณ 1 ลิตร ขอบเขตการศึกษาเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูกข้าวโพด การผลิตเอทานอล การขนส่ง และการนำไปใช้งาน จากการศึกษาพบว่า วอเตอร์ฟุตพรินต์ตลอดห่วง โซ่ของการผลิตเอทานอลจากข้าวโพด มีค่าเท่ากับ 4,407.45 ลิตรต่อลิตรเอทานอล หรือ 0.1223 ล้าน กิโลลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 0.243 ของปริมาณนํ้าทั้งประเทศ โดยแบ่งเป็นวอเตอร์ ฟุตพรินต์เขียว 2,719.61 ลิตรต่อลิตรเอทานอล หรือ 0.0755 ล้านกิโลลูกบาศก์เมตรต่อปี และวอ เตอร์ฟุตพรินต์น้ำเงิน 1,689.11 ลิตรต่อลิตรเอทานอล หรือ 0.0469 ล้านกิโลลูกบาศก์เมตรต่อปี และ ผลการศึกษาประสิทธิภาพเชิงพลังงานพบว่า พลังงานเพิ่มสุทธิตลอดห่วงโซ่ของกระบวนการผลิต เอทานอลจากข้าวโพด มีค่าเท่ากับ 1.943 เมกะจูลต่อลิตรเอทานอล โดยกระบวนการผลิตเอทานอล มีการใช้พลังงานสูงสุดเท่ากับ 15.24 เมกะจูลต่อลิตรเอทานอล รองลงมาคือ ขั้นตอนการเพาะปลูก และขั้นตอนการขนส่ง ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการผลิตเอทานอลจากข้าวโพดกับ วัตถุดิบชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตเอทานอล พบว่าวอเตอร์ฟุตพรินต์ของเอทานอลจากข้าวโพดมีค่า น้อยกว่าวอเตอร์ฟุตพรินต์ของเอทานอลจากมันสำปะหลัง เท่ากับ 1.8 เท่า แต่ในทางกลับกัน การ ผลิตเอทานอลจากข้าวโพดมีประสิทธิภาพเชิงพลังงานน้อยกว่าการผลิตเอทานอลจาก อ้อย มัน สำปะหลัง และกากนํ้าตาล เท่ากับ 3.72 3.48 และ 1.82 เท่า ตามลำดับ
บทคัดย่อ: The aims of this chemical engineering project are to study and compare energy efficiency or Net Energy Gain (NEG) and Water Footprint (WF) of com-based 99.5% purified ethanol production with different kinds of raw materials for ethanol production using the Life Cycle Assessment (LCA) technique. The LCA were done in accordance to the ISO 14040 (2006) and ISO 14046 (2006). 1 liter of com-based ethanol product was set as a functional unit. System boundary was considered from com plantation, ethanol production, transportation, and usage. The results show that the WF of com-ethanol production was 4,407.45 liters/liter of ethanol or 0.1223 million krท/year or 0.243 percent of water availability in Thailand. These are corresponding to 2,719.61 liters/liter of ethanol of green water or 0.0755 milloin km3/year and 1,689.11 liters/liter of ethanol of blue water or 0.0469 million km3/year. For energy efficiencies, the results show that the NEG value of com ethanol production was 1.943 MJ/liter of ethanol. The highest energy was from ethanol production or 15.24 MJ/liter of ethanol, followed by com plantation, and transportation respectively. Considering the comparison com-ethanol production with various raw materials for ethanol production, com-ethanol production has lower WF than cassava-ethanol production about 1.8 times. Whereas, ethanol production from com has lower energy efficiency than sugarcane, cassava, and molasses about 3.72 3.48 and 1.82 times respectively.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29021
Appears in Collections:CheEng-Bachelor's Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Nitchanan_C.pdf
  Restricted Access
15.11 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.