Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29019
Title: เครื่องกายภาพบำบัดหัวเข่าสำหรับกายภาพบำบัดโดยใช้ระบบการแพทย์ทางไกลและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
Other Titles: The telerehabilitation of continuous passive motion machine using a website database and the internet of things
Advisor : วงศ์วิทย์ เสนะวงศ์
Authors: ธนพร สุขปราโมทย์
ปารณ ดาวทอง
ไอรัก จันทร์มานะเจริญ
Keywords: โรคข้อเข่าเสื่อม
อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
เครื่องกายภาพภาพบำบัดหัวเข่า
ระบบการแพทย์ทางไกล
อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
Issue Date: 2565
Publisher: สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): โครงงานวิศวกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการบำบัดหัวเข่า จากสถิติของสำนักงาน สถิติแห่งชาติ พบว่าในปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ รวมถึงสถานการณ์การ ระบาดของเชื้อไวรัสต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนำไปสู่การพัฒนาระบบติดตามข้อมูลระยะไกลของเครื่องกายภาพบำบัด หัวเข่า นอกจากนี้ยังมีประชากรจำนวนมากที่ต้องเข้ารับการรักษาจากอาการบาดเจ็บของหัวเช่าจากโรคข้อเข่า เสื่อม อุบัติเหตุจากการดำรงชีวิตหรือการเล่นกีฬา ซึ่งนำไปสู่การผ่าตัด โดยในกระบวนการผู้ป่วยจำเป็นต้อง ได้รับการกายภาพบำบัด รวมถึงผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดเข่า เพื่อฟื้นฟูสภาพ ลดอาการ ยึดติดของผิวหนังบริเวณที่ผ่าตัด ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ ด้วยเหตุผลดังกล่าว การพัฒนาเครื่องกายภาพบำบัดหัวเข่าร่วมกับเว็บไซต์ที่แพทย์ประจำตัวผู้ป่วย สามารถติดตามประวัติการใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปประกอบการรักษาได้ โดยที่เครื่องกายภาพบำบัดหัวเข่าที่ถูก พัฒนาขึ้นมีนํ้าหนัก 7.8 กิโลกรัม และสามารถปรับองศาของการเหยียดและงอเข่าได้ 90 องศา ถึง 150 องศา มีโหมดการรักษา 4 โหมดโดยสามารถปรับความเร็วได้ 5 ระดับ มีการตั้งค่าเวลาการรักษาได้ตั้งแต่ 5 นาที ถึง 120 นาที และมีปุ่มหยุดฉุกเฉิน โครงงานนี้สามารถประหยัดทั้งเวลาการเดินทางไปรักษา ทรัพยากรบุคคล และค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยที่ใช้ระหว่างการรักษา รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ
Abstract: This engineering project intends to develop a device that will help patients who have had total knee arthroplasty to regain their abilities in daily life. According to statistics from the National Statistical Office of Thailand, Thailand is on the threshold of becoming an aging society. Moreover, the pandemic situation makes people getting to the hospital harder. This telerehabilitation is done to prevent joint stiffness and to alleviate the discomfort caused by inflammation of the muscles, bones, and joints while patients live in their residence. The machine was designed to convey usage history data to the doctor via the website for the reasons described above. The device we created weighs 7.8 kilograms. It has a knee adjustable range of 90 to 150 with 4 rehabilitation modes that can alter the velocity to 5 levels and the process of time using the machine can be selected between 5 and 120 minutes. It also contains an emergency stop button to stop the process. The findings demonstrate that patients can use the machine at home to reduce self-treatment costs, boost treatment efficacy, and reduce human resources during treatment.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29019
Appears in Collections:BioEng-Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Thanaporn_S.pdf
  Restricted Access
14.01 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.