Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29014
Title: วิธีการตรวจจับและจัดหมวดหมู่ผู้เล่นในสนามฟุตบอลจากภาพนิ่งด้วยการเรียนรู้เชิงลึกและการวิเคราะห์ฮิตโตแกรม
Other Titles: A method of detection and classification for players on soccer field from single image by deep learning technique and histogram analysis
Advisor : ฑีฆพันธุ์ เจริญพงษ์
Authors: โภคิน พรหมวิจิตรการ
Keywords: การวิเคราะห์แผนการเล่น
การจัดหมวดหมู่ผู้เล่น
การตรวจจับผู้เล่น
ฟุตบอล
Issue Date: 2565
Publisher: ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): ประสิทธิภาพของผู้เล่นแต่ละคน, การวิเคราะห์แผนการในทีมฟุตบอล, และการลํ้าหน้า เป็น เหตุการณ์ที่ส่งผลสำคัญอย่างมากต่อผลลัพธ์ของการแข่งขัน ซึ่งขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ของผู้เล่นแบบรายบุคคล คือ การตรวจจับและจัดหมวดหมู่ผู้เล่นในสนามฟุตบอล โดยในโครงงานวิศวกรรมนี้ได้นำเสนอ วิธีการตรวจจับและจัดหมวดหมู่ผู้เล่นในสนามฟุตบอลด้วยเทคโนโลยีวิสัยทัศน์เดี่ยว ซึ่ง มีขั้นตอนอยู่ทั้งหมด 4 กระบวนการ ประกอบด้วย 1.) กระบวนการก่อนการประมวลภาพ (Preprocessing) 2) กระบวนการเตรียมภาพ (Image preparation) 3) กระบวนการตรวจจับผู้เล่นในสนาม (Player detection) และ 4) กระบวนการตรวจจับและจัดหมวดหมู่ผู้เล่นในสนาม (Player classification) เริ่มแรก การตรวจจับวัตถุให้ออกมาจากภาพนั้น ต้องลบส่วนเกินออกจากภาพสนาม ฟุตบอลโดยการใช้เกณฑ์เก็บภาพบริเวณสีเขียวแล้วลบภาพที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จากนั้นนำเข้ากระบวนการทาง Morphological เพื่อลบภาพสิ่งรบกวนที่ไม่ใช่ผู้เล่น แล้วใช้เกณฑ์เป็นขนาดเพื่อเก็บหรือทิ้งวัตถุที่เหลืออยู่ ในภาพ ทำให้วัตถุที่เหลืออยู่บนภาพหลังจบกระบวนการนั้น คือ ผู้เล่นสุดท้ายนำข้อมูลฮิสโตแกรมของผู้ เล่นที่ได้มาจากกระบวนก่อนหน้านี้มาทำการจัดหมวดหมู่ผ่าน Classifier ชนิด Fine-K-Nearest Neighbor หรือ Fine-KNN โดยในงานนี้ จะใช้วีดีโอการแข่งขันฟุตบอลทั้งหมด 3 การแข่งขัน แบ่งเป็น ภาพผู้เล่นสำหรับทดสอบ 457 ภาพ ผลการทดลองได้ค่าความถูกต้องเป็นร้อยละ 90.43% ค่าความไวเป็น ร้อยละ 76.15% ค่าความจำเพาะเป็นร้อยละ 96.03% การทดลองประสิทธิภาพในการตรวจจับผู้เล่น จาก 710 ภาพ ผลการทดลองได้ค่าความถูกต้องร้อยละ 72.68% และค่าความไวเป็นร้อยละ 74.68% และการ ทดลองประสิทธิภาพของกระบวนการตรวจจับและจัดหมวดหมู่ผู้เล่นในสนามฟุตบอลจากภาพนิ่งด้วยการ เรียนรู้เชิงลึกและการวิเคราะห์ฮิตโตแกรม จากภาพทั้งหมด 2277 ภาพ ผลการทดลองได้ค่าความถูกต้อง เป็นร้อยละ 90.43% ค่าความไวเป็นร้อยละ 76.15% และค่าความจำเพาะเป็นร้อยละ 94.01% ซึ่งถือว่ามี ประสิทธิภาพที่ดี เหมาะกับการนำไปใช้จริง
Abstract: Statistic of an individual player, tactical analysis in soccer-team, and offside event in a soccer game impacts to match results. An important step to analyze information of the individual player is a soccer team classification. เท this paper, we proposed A Method Of Detection And Classification For Players On Soccer Field From Single Image By Deep Learning Technique And Histogram Analysis. This method consists of four steps: 1) Preprocessing 2) Image preparation 3) Player detection and 4) Player classification. Firstly, to segment foreground objects, the soccer ground field is removed by comparing the green color level with a threshold. Morphological technique is used to remove noise in foreground image. Region of objects which is smaller than criterial is also removed. Therefore, remain object is defined as players. Player can be detected. For soccer-vectors in database, team is classified finally. To test the performance of methods, three videos of soccer match are used. 457 player images are selected. These player images are used for classification. The Fine-K-Nearest Neighbor or Fine-KNN are used as classifier. Accuracy rate is 90.43%. Sensitivity rate is 76.15%. Specificity rate is 96.03%. For Player Detection method 710 images are used, Accuracy rate is 72.68%. Sensitivity rate is 74.68%. Lastly The overall performance 2277 images are used, Accuracy rate is 90.43%. Sensitivity rate is 76.15%. Specificity rate is 94.01%. Based on the results, the proposed method shows excellent performance.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29014
Appears in Collections:BioEng-Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Phokin_P.pdf
  Restricted Access
8.02 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.