Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29009
Title: การตรวจจับฟัน และการระบุมุมของฟันล้มจากภาพเอกซเรย์พาโนรามิก
Other Titles: Teeth detection and identify angulation of tilted teeth from panoramic x-ray image
Advisor : ฑีฆพันธุ์ เจริญพงษ์
Authors: นิรันชรา สิรินารถ
วันวิสา พาทอน
Keywords: การจับคู่เทมเพลต
ฟันล้ม
ฟันคุด
แกนของฟัน
มุมของฟัน
Issue Date: 2565
Publisher: ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): โครงงานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาวิธีการวิเคราะห์และระบุปัญหาเกี่ยวกับฟันล้มและฟันคุดเพื่อ เป็นประโยชน์ในการประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาของทันตแพทย์ จึงได้นำเสนอกระบวนการตรวจจับ ฟัน กระบวนการการระบุความเอียงหรือวัดแกนฟัน และกระบวนการระบุองศาหรือวัดมุมตกกระทบของฟันล้ม และฟันคุด โดยประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การเตรียมเทมเพลต ทำการครอบตัดภาพฟันรากเดี่ยวและฟันราก คู่อย่างละ 10 ซี่จากภาพพาโนรามิก จากนั้นนำมาทำการหาค่าเฉลี่ยเทมเพลต และทำการหมุนเทมเพลตไปทีละ 5 องศา จะได้เทมเพลตของฟันอย่างละ 72 เทมเพลต 2. การเตรียมภาพพาโนรามิก ทำการทดลองการเตรียมภาพ 2 วิธีได้แก่ วิธีที่ 1 การครอบตัดภาพขนาด 800x2000,900x1900 และ 1000x2100 และ วิธีที่ 2 ใช้การปรับ ความเข้มภาพด้วยวิธี Otsu’s thresholding ร่วมกับการหาระยะมาฮาลาโนบิส จากนั้นนำภาพมาตัดพื้นที่ให้เหลือ เพียงบริเวณฟันรากเดี่ยวหรือฟันรากคู่ 3. การจับคู่เทมเพลตกับภาพเป้าหมาย คือ การเปรียบเทียบความเหมือน ระหว่างเทมเพลตกับภาพพาโนรามิกโดยใช้ค่าคอรีชั่นมากที่สุดที่หาได้จากวิธีการ Correlation-based template matching 4. การตรวจจับฟัน แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ การแบ่งกลุ่มข้อมูลพิกัดการตรวจจับ การสร้าง เฟรมหรือการสร้างกรอบครอบบริเวณพื้นที่ลูกตรวจจับ และการแบ่งส่วนภาพ 5. การหาแกนและมุมของฟัน การ หาแกนฟันทำหาแกนหลัก (Major axis) และแกนตั้งฉากกับความยาวภาพ (y-axis) ส่วนการหามุมของฟันทำการ เลือกเคสที่ตรวจจับฟันได้ทั้งฟันกรามซี่ที่ 2 และ 3 มาทำการหามุมตามทฤษฎีของ Evan Ruth ผลลัพธ์ที่ได้แบ่ง ออกเป็น 3 กระบวนการ แต่กระบวนการจากการนำไปทดลองกับภาพพาโนรามิก 50 ภาพเป็นดังนี้ กระบวนการ ตรวจจับสามารถตรวจจับฟันรากเดี่ยวได้ 160 ซี่ ฟันรากคู่ 208 ซี่ จากฟันรากเดี่ยวทั้งหมด 366 ซี่ ฟันรากคู่ 364 ซี่ มีค่าความถูกต้องร้อยละ 57.14 กระบวนการวัดแกนฟันสามารถหาแกนฟันได้ 368 ซี่ มีค่าผลต่างมุม (error) ร้อยละ 24.24 และค่าระยะห่าง (d) เฉลี่ย 25.92 พิกเซล กระบวนการวัดมุมฟันคุดสามารถหามุมฟันคุดได้ 17 เคส จากภาพพาโนรามิก 14 ภาพ มีค่าความคลาดเคลื่อนร้อยละ 38.32
Abstract: This research project aims to develop a method for analyzing and identifying problems with tilted and impacted teeth to be useful for decision-making in dentists' treatment options. Therefore, this research preposes the process of teeth detection, identifying the inclination, and identifying the angle of tilted and impacted teeth. It consists of 5 steps follows: 1. Preparation of template 10 single and double roots teeth were cropped from the panoramic images, then the templates were averaged, and the templates were rotated by 5 degree each to obtain 72 templates. 2. Image acquisition, two methods of this step, method 1 cropping the image size 800x2000, 900x1900 and 1000x2100 and method 2 using image contrast by otsu's thresholding method together with finding the Mahalanobis distance and cut the area to leave only single root teeth or double root teeth. 3. Template matching, Comparison of similarity between templates and panoramic images using the correlation-based template matching method. 4. Teeth detection is divided into 3 sub-steps, segmentation of the detection coordinate data group, framing the area of the detected tooth and image segmentation 5. Identify the major axis and degree of inclination, according to Evan Ruth's theory. The results of 3 processes, each of which was tested with 50 panoramic images follows: The teeth detection process can be detected 160 single roots, 208 double roots teeth out of a total of 366 single roots and 364 double roots teeth with an accuracy of 57.14%. The measuring of teeth axis process was able to find 368 tooth axes with the angular difference (error) of 24.24% and the mean distance (d) of 25.92 pixels. And the measuring of the impacted teeth angle process can be found in 17 cases from 14 panoramic images with an error of 38.32%
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29009
Appears in Collections:BioEng-Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Nirunchara_S.pdf
  Restricted Access
9.62 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.