Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28998
ชื่อเรื่อง: พลวัตทางความคิดเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562: มุมมองคนรุ่นใหม่กับการลดความขัดแย้งทางการเมือง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE DYNAMICS OF THAI POLITICAL IDEOLOGY FOLLOWING THE 2019 ELECTION: POLITICAL PERSPECTIVE FROM YOUNG GENERATION AND THE REDUCTION OF POLITICAL CONFLICT
ผู้แต่ง: นรวิชญ์ นิธิปัญญา
ชลวิทย์ เจียร์จิตต์
Keywords: อุดมการณ์ทางการเมือง
คนรุ่นใหม่
ความขัดแย้งทางการเมือง
political Ideology
new generation
political conflict
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพลวัตทางความคิดเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 และเพื่อศึกษามุมมองคนรุ่นใหม่ในการลดความขัดแย้งทางการเมือง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ อาศัยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มนักการเมือง นักวิชาการ ตลอดจนแกนนำขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประเทศไทย และกลุ่มคนรุ่นใหม่ รวม 35 คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ความเป็นพลวัตทางความคิดเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองไทยที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 มาจากมรดกของการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ตลอดระยะเวลา 5 ปีของการควบคุมอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประชาชนไม่มีสิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกและการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยอุดมการณ์ทางการเมืองไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ขั้ว ในช่วงปี 2562 - 2565 ได้แก่ ขั้วอุดมการณ์แบบอำนาจนิยม และขั้วอุดมการณ์แบบประชาธิปไตย สำหรับวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า ในมุมมองของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อความขัดแย้งทางการเมืองจะเห็นได้ว่าความขัดแย้งทางการเมืองมีมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่หลังการเลือกตั้ง 2548 จนเกิดรัฐประหาร 2 ครั้ง ในปี 2549 และ 2557 แต่ไม่ใช่ทางออกของการเมืองไทย โดยในการลดความขัดแย้งทางการเมืองมีข้อเสนอ ดังนี้ (1) เครื่องมือทางกฎหมายในการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองไทยในอดีต ทั้งการนิรโทษกรรม และการล้างมลทิน และ (2) การสร้างองค์กรเพื่อระงับความขัดแย้งเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการระงับความขัดแย้งคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
บทคัดย่อ: This study aimed to study the dynamics of Thai political ideologies following the general election in 2019 and to understand the viewpoints of the younger generation towards the reduction of political conflict. The research method is qualitative via in-depth interviews with key informants such as politicians, scholars, the leaders of political movements, and the younger generation. The study found that, firstly, the dynamics of Thai political ideologies following the 2019 general election was a legacy from the coup d’état in 2014. People have had no rights, freedom of expression, or political representation throughout the five years that the National Council for Peace and Order were in power. Thai ideologies can be divided into two wings from 2019 to 2022, which are authoritarianism and democratism. Secondly, from the younger generation’s perspectives towards the reduction of political conflict, the conflict has long been established since the 2005 election, along with the coup d’états, which were not the solutions for conflict, in 2006 and 2014. To reduce political disputes, it is significant to utilise the long-standing legal tools by encouraging the usage of amnesty and purge bills or establishing organisations to eliminate conflicts and unravel any issues in the future. Keyword: political Ideology, new generation, political conflict
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28998
Appears in Collections:Soc-Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
Soc-Art-Norawish-N-2566.pdf4.27 MBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.