Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28979
Title: การวิเคราะห์ความเครียดของนักลงทุนในตลาดสกุลเงินดิจิทัล
Other Titles: Emotional stress analysis of traders in cryptocurrency markets
Advisor : ธีระศักดิ์ จันทร์วิเมลือง
Authors: กนกวรรณ คงนาสร
วิลาวัณย์ กิ่งตระการ
อิษยา วิกยานนท์
Keywords: ความเครียด
ความผกผันของอัตราการเต้นหัวใจ
สัญญาณการบีบตัวของหลอดเลือด
อุณหภูมิร่างกาย
ความนำไฟฟ้าของผิวหนัง
Issue Date: 2565
Publisher: สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): ความเครียดเป็นต้นเหตุแห่งความผิดพลาดในการลงทุนของนักลงทุน ซึ่งนักลงทุนในตลาดลงทุนมีทั้งนักลงทุนรายย่อย และนักลงทุนรายใหญ่ ซึ่งมีผลกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงต้องใช้สติรู้ตัวเสมอว่าสภาพของจิตใจกำลังอยู่ในสภาวะโลภหรือกลัวและอยู่ในระดับใด ซึ่งความโลภและความกลัวสะท้อนจากสภาวะเครียดของร่างกาย โดยการวัดความเครียดปกติจะต้องทำแบบทดสอบซึ่งมักจะเกิดความลำเอียงและไม่สามารถวัดตามเวลาจริงได้ ในงานวิจัยนี้จึงได้ออกแบบการทดลองจากการดัดแปลงการทดสอบความเครียดเชิงสังคม (TSST) และพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดและวิเคราะห์ความเครียดเชิง ปริมาณของนักลงทุนในตลาดสกุลเงินดิจิทัล โดยใช้วิธีการตรวจจับสัญญาณการบีบตัวของหลอดเลือดอุณหภูมิของร่างกาย และการตรวจวัดค่าความนำไฟฟ้าของผิวหนังผ่านการจำลองสถานการณ์การตัดสินใจซื้อขายที่สร้างขึ้น โดยใช้โปรแกรมแมทแลปในการสร้างสถานการณ์จำลองและวิเคราะห์ความเครียด จากการวิเคราะห์และประเมินผลพบว่า เมื่อนักลงทุนเห็นราคาที่มีการขึ้นลง นักลงทุนจะเกิดความเครียดในขณะที่มีการซื้อขาย ซึ่งอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นสามารถประเมินความเครียดได้จากการ ประมวลผลสัญญาณเป็นค่าของตัววัด (Metrics) ต่าง ๆ เมื่อพิจารณาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของตัววัดต่าง ๆ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพบว่า อัตราการเต้นของหัวใจ (avHRs) นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์และประเมินความเครียดได้
Abstract: Stress is the cause of investing mistakes. Investors in the investment market include retail investors and large investors who have a significant impact on the country's economy. Therefore, it is necessary to be aware of the state of mind that is affected by greed or fear and at what level. Greed and fear reflect the stressful state of the body. Normal stress measurements require a test that is subject to bias and cannot measure in real-time. เท this research, an experiment is designed based on a modification of The Trier Social Stress Test (TSST) to develop a device that can measure and analyze the quantitative stress of investors in the cryptocurrency market. The device measures signal detection photoplethysmography (PPG), body temperature, and galvanic skin response (GSR) through trading simulations generated using a MATLAB program. From the analysis and evaluation, it was found that when investors see price fluctuations, they get stressed out while trading. The device can assess stress from signal processing as a value of various metrics. When considering the trend of change of various metrics and analyzing statistical data, it is found that the average of heart rate (avHRs) is change significantly which can be used to analyze and assess stress.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28979
Appears in Collections:BioEng-Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Kanokwan_K.pdf
  Restricted Access
12.15 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.