Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28920
ชื่อเรื่อง: แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบบุคลากร มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: GUIDELINES FOR INCREASING THE EFFICIENCY OF PERSONNEL BUDGET MANAGEMENT AUTONOMOUS UNIVERSITY
ผู้แต่ง: มนิดา เจริญรัตน์
Keywords: การบริหารงบบุคลากร
การเพิ่มประสิทธิภาพ
Increasing the Efficiency
Personnel Budget Management
วันที่เผยแพร่: 2566
Abstract(TH): การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบบุคลากร และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการเบิกจ่ายเงินเดือนพนักงานรูปแบบใหม่ เป็นรูปแบบการวิจัยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงบบุคลากรของมหาวิทยาลัยนอกระบบ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหา วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 8 ท่าน ดำเนินการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงบประมาณด้านบุคลากร อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมหาวิทยาลัยในการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด โดยการกำหนดกระบวนการบริหารและนโยบาย ด้วยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารงานบุคคลและเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น SAP และบริการบัญชีเงินเดือนให้เป็นไปตามระเบียบและนโยบาย จัดทำแผนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับ การบริหารงานบุคคลและยุทธศาสตร์ โดยรวมของมหาวิทยาลัย และ 2) แนวทางการเบิกจ่ายเงินเดือนพนักงานรูปแบบใหม่ ควรปรับปรุงระบบการจ่ายเงินเดือนของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่เป็นการเปลี่ยนระบบบัญชีเงินเดือนไปใช้ SAP4 HANA จะช่วยเพิ่มความสะดวก ความแม่นยำ และการสร้างรายงานที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยระบบขั้นสูงที่มีการรายงานและการวิเคราะห์ข้อมูลที่ครอบคลุม โดยให้ความสำคัญกับการแจ้ง ลาออกล่วงหน้าเพื่อลดความจำเป็นในการชำระเงินคืน การจำแนกประเภทพนักงานและความถูกต้องเพื่อลดความเข้าใจผิดในบันทึก ข้อมูลบุคลากรและอำนวยความสะดวกในกระบวนการที่มีความคล่องตัว การจัดสรรเงิน สำรองให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรในอนาคต
บทคัดย่อ: This research the objectives are 1) To study ways to increase the efficiency of personnel budget management. and 2) To propose new guidelines for salary disbursement of employees. It is a research model of qualitative research by in-depth interview by selecting a specific sample, namely, personnel from non-formal universities, namely Chulalongkorn University, Mahidol University, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang and Srinakharinwirot University, 8 people conducting content analysis. The results showed that 1) Efficient personnel budget management is important for universities to maximize resource allocation and minimize losses. By defining administrative processes and policies with the participation of an HR committee and modern tools such as SAP and payroll services, regulations and policies are met. Prepare a strategic plan that is in line with personnel management and the overall strategy of the university, and 2) A new approach to salary disbursement for employees. The existing university payroll system should be improved. Therefore, migrating your payroll system to SAP4 HANA will increase your convenience, accuracy and faster report generation. With an advanced system that offers comprehensive reporting and data analysis. Pay attention to advance notice of resignation to reduce the need for reimbursement. Employee classification and accuracy to reduce misunderstandings in personnel records and facilitate streamlined processes. Allocation of reserves sufficient for future personnel expenses.
รายละเอียด: The 5th BAs National Conference 2023 การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่5 (ในความร่วมมือ 5 สถาบัน)
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28920
Appears in Collections:OP-Conference paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
OP-Con-Manida-T-smart5-p79.pdf298.7 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.