Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28513
ชื่อเรื่อง: | เฟมินิสต์ ปิตาธิปไตย: ความขัดแย้งระหว่างเพศในสังคมเกาหลีใต้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Feminist Patriarchy: The Gender Conflict in South Korea |
ผู้แต่ง: | วิรินทร อ่างคำ ศิริพร ดาบเพชร |
Keywords: | เฟมินิสต์ ปิตาธิปไตย ความขัดแย้งระหว่างเพศ เกาหลีใต้ Feminist Patriarchy Gender Conflicts South Korea |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
Abstract(TH): | บทความนี้มุ่งศึกษาถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเพศในสังคมเกาหลีใต้ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานประเภทงานวิจัย หนังสือ บทความ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อวิเคราะห์บริบทโดยรวมของสังคมเกาหลีใต้ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะทางสังคมของผู้หญิงเกาหลีใต้ อันนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างเพศ ผลการศึกษาพบว่า ค่านิยมทางสังคมที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อ ซึ่งมีอิทธิพลสูงสุดในเกาหลีตั้งแต่สมัยราชวงศ์โชซอน (ค.ศ. 1392 - 1910) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเพศในสังคมเกาหลีใต้ ส่งผลให้สังคมของเกาหลีมีลักษณะแบ่งแยกทางเพศและมีค่านิยมแบบปิตาธิปไตย เมื่อเกาหลีใต้พัฒนาเป็นสังคมสมัยใหม่นับแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา สถานะทางสังคมของผู้หญิงเกาหลีใต้เปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม แต่ผู้หญิงเกาหลีใต้ยังต้องเผชิญกับปัญหาการถูกกดขี่และความไม่เท่าเทียมทางเพศ จนนำไปสู่การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้หญิงเกาหลีใต้ทั้งในภาคการเมืองและสังคม เพื่อสร้างสังคมที่มีความเท่าเทียมทางเพศอย่างแท้จริง การเคลื่อนไหวนี้สร้างแรงปะทะต่อค่านิยมเดิมทางสังคมที่ได้ฝังรากลึกอยู่ในสังคม จนนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างเพศในสังคมเกาหลีใต้ในปัจจุบัน |
บทคัดย่อ: | This article examines the factors contributing to gender conflict in South Korean society, using historical methods in data analysis from research, books, articles, and electronic media. It analyzes the overall context of the South Korea society caused from changes in the social status of Korean women. which led to gender conflict in the South Korea society. The study has found that the social values influenced from Confucianism, which came to Korea since the Choson Dynasty (1392 - 1910) is the main factor contributed to gender conflict in the South Korea society. As a result, Korean society was shaped by gender inequality and patriarchal values was cultivated. Since the 1970s, South Korea began to develop into the modern society, the social status of South Korean women has gradually changed along with socioeconomic development. However, South Korean women have still faced gender inequality and oppression. This has led to the women’s rights movement, which is active in both the political and social sectors, aiming to creating a truly gender-equal society. The movement impacts to the old social values that are still deeply rooted in the society and that led to the gender conflict in South Korean society today. |
รายละเอียด: | รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 11 |
URI: | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28513 |
Appears in Collections: | His-Conference paper |
Files in This Item:
File | Size | Format | |
---|---|---|---|
His-Con-Wirintorn-A-smarts11.pdf | 481.98 kB | View/Open |
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.