Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28510
Title: การถ่ายทอดสุนทรียะทางทัศนศิลป์: กรณีศึกษาจากผลงาน 3 ศิลปิน (ศาสตราจารย์พิเศษ เฉลิม นาคีรักษ์ รองศาสตราจารย์ ดร.สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง และผู้ช่วยศาสตราจารย์เนติกร ชินโย)
Other Titles: Deployment of Aesthetic of Visual Art: A Case Study of 3 Artists (Adj. Prof. Nakirak, C., Assoc. Prof. Dr.Thimwatbunthong, S., & Asst. Prof. Chinyo, N.)
Authors: ปิยะนาถ อังควาณิชกุล
Keywords: สุนทรียะทางทัศนศิลป์
เฉลิม นาคีรักษ์
สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง
เนติกร ชินโย
Aesthetic of Visual Art
Issue Date: 2565
Abstract(TH): วัตถุประสงค์การศึกษาในบทความนี้ คือ ศึกษาปัจจัยในการถ่ายทอดสุนทรียะทางทัศนศิลป์ โดยศึกษาจากผลงานศิลปินทั้ง 3 ท่าน และศึกษาเอกลักษณ์ในผลงานการถ่ายทอดสุนทรียะทางทัศนศิลป์ของศิลปินทั้ง 3 ท่าน จากการศึกษาทำให้ทราบว่า มีปัจจัยที่ทำให้ศิลปินสร้างงานที่โดดเด่นและมีความแตกต่างกันหลายประการ ประการแรก ภูมิหลังด้านการศึกษาและพรสวรรค์ของศิลปิน ประการที่สอง ความถนัดในการใช้สีและเทคนิคของศิลปิน ประการที่สาม ความประทับใจและประสบการณ์ของศิลปิน ประการสุดท้าย การสร้างอัตลักษณ์ของศิลปิน บทความนี้เป็นการศึกษาจากประวัติและผลงานศิลปินทางทัศนศิลป์ 3 ท่าน โดยปรากฏผลงานทัศนศิลป์ที่มี ความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ดังนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ เฉลิม นาคีรักษ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ.2531 ผลงานสำคัญของท่าน คือ ชุดภาพประเพณีไทยประยุกต์ (Thai Contemporary Art) ภาพ “เซิ้งบั้งไฟ” เป็นการใช้สีน้ำมัน ตัดเส้นที่มีความสวยงาม รองศาสตราจารย์ ดร.สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง ผลงานสำคัญของท่านได้รับรางวัลการประกวดศิลปกรรม กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2525 ในชื่อภาพ (ผู้เขียน: รัชกาลที่ 9) “เสด็จเยี่ยมชาวจีนที่สำเพ็ง” และผู้ช่วยศาสตราจารย์เนติกร ชินโย ศิลปินผู้ได้รับรางวัลในงานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 40 พ.ศ.2537 ครั้งที่ 60 พ.ศ.2557 ชื่อภาพชุด “ปฏิมา”
Abstract: The objectives of this research were to: investigate factors affecting development of aesthetic of visual art from the work of 3 artists, and study uniqueness of those pieces of work. The results showed that there were several factors making the artists create distinguished work. The first factor was their study background and gift. The second was fluency and coloring technique. The third factor was impression and experience of artists. The last was the artists’ uniqueness. This research aimed to study biographies and works of from 3 artists in visual art. Those pieces of visual art related to history, and art and culture. The first artist was Adj. Prof. Nakirak, C., national artist in visual art (painting) in 1988. His significant artwork was a series of applied traditions in which “rocket festival dance’ showed beautiful oil painting with the bold drawing lines. The second artist was Assoc. Prof. Dr. Thimwatbuntong, S. whose important work was awarded in Fine Art Contest for Rattanakosin Bicentennial in 1982 in the title (author: King Rama IX) “visited Chinese at Sampeng”. The third artist was Asst. Prof. Chinyo, N. whose work “Statue” was awarded in 40th (1904) and 60th (2014) National Fine Art Exhibitions.
Description: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 11
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28510
Appears in Collections:His-Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
His-Con-Piyanart-U-smarts11.pdf2.2 MBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.