Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28508
Title: อิทธิพลของกลุ่มเครือญาติแบบมาตุพงศ์ที่มีต่อบทบาทและสถานภาพของสตรีล้านนาด้านการเมือง การปกครองในสมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ. 1839-2121)
Other Titles: Influence of Matrilocal Kinship over the Political Role and Status of Lanna Women in Mangrai Dynasty, 1296-1578 A.D.
Authors: ฆนรุจ สุสา
ปิยะนาถ อังควาณิชกุล
Keywords: เครือญาติแบบมาตุพงศ์
อาณาจักรล้านนา
ราชวงศ์มังราย
Matrilocal kinships
Lanna Kingdom
Mangrai dynasty
Issue Date: 2565
Abstract(TH): บทความวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาอิทธิพลของกลุ่มเครือญาติแบบมาตุพงศ์ที่มีต่อบทบาทและสถานภาพทางด้านการเมืองของสตรีล้านนาในสมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1839-พ.ศ.2121) มีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครอง สถาปนาโดยพระยามังราย พ.ศ.1839 สิ้นสุดในสมัยของพระนางวิสุทธิเทวี พ.ศ.2121 กษัตริย์เชื้อสายราชวงศ์มังรายพระองค์สุดท้าย เนื่องจากอาณาจักรล้านนาตกเป็นอาณานิคมของอาณาจักรพม่า ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ทางเครือญาติแบบมาตุพงศ์ (ญาติฝ่ายแม่) ส่งผลให้การลำดับญาติของชนชั้นปกครองในราชวงศ์มังรายสามารถสืบสันดานได้ทั้งทายาทฝ่ายชายและทายาทฝ่ายหญิง อีกทั้งจารีตดั้งเดิมของล้านนาที่ขุนนางไม่สามารถตั้งตนเป็นกษัตริย์ได้ ทำให้กลุ่มขุนนางสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับราชวงศ์มังรายโดยการส่งสตรีในกลุ่มตระกูลของตนเข้ามาอภิเษกสมรสกับกษัตริย์ในราชวงศ์มังราย และอาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาตินี้ในการสั่งสมอำนาจทางการเมืองของกลุ่มตน ดังนั้นจึงทำให้สตรีที่ถูกส่งเข้ามาอภิเษกกับกษัตริย์ราชวงศ์มังรายเปรียบเสมือนตัวแทนอำนาจของขุนนางกลุ่มนั้นๆ จึงทำให้สตรีในตำแหน่งพระมหาเทวีมีสถานภาพและบทบาททางการเมืองสูงมากเนื่องจากพระนางเป็นพระราชมารดาของกษัตริย์และเป็นผู้กุมอำนาจค้ำจุนราชบังลังก์ เริ่มตั้งสมัยพระนางจิตรามหาเทวีและสิ้นสุดในสมัยของพระนางวิสุทธิเทวี เนื่องจากอาณาจักรล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรพม่า
Abstract: The purpose of research article is to study the influence of Matrilocal kinships over the political role and status of Lanna women in Mangrai Dynasty, 1296-1578. Chiang Mai is the administrative center. Founded by Phraya Mangrai in 1296 Ended in the reign of Phra Nang Wisutthithewi in 1578. The last king of the Mangrai dynasty. Because the Lanna Kingdom was colonized by the Burmese kingdom. The resualt of the research reavealed that Matrilocal kinships (mother's relative) resulted in the relative hierarchy of the ruling class in the Mangrai dynasty being able to inherit both male heirs and female heirs. Lanna’s destiny at the nobles can establish himself as a king. This allowed the nobles to build kinship relations with the Mangrai dynasty by sending women in their families to marry the kings of the Mangrai dynasty. And relying on this kinship relationship to accumulate political power of their group. Therefore, the women who were sent to marry the Mongrai dynasty were like representatives of the nobility of that group. Women who was the queen’s mother having very high political status and roles because she was the mother of the king and the one who maintains the throne. It started in the reign of Chittra Maha Devi and ended in the reign of Phra Nang Wisutthithewi. The Lanna Kingdom was colonized by the Burmese kingdom.
Description: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 11
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28508
Appears in Collections:His-Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
His-Con-Kanarut-S-smarts11.pdf481.25 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.