Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28474
ชื่อเรื่อง: | การยกระดับด่านชายแดนต่อการเชื่อมโยงเมืองเศรษฐกิจชายแดนอนุภูมิภาคอีสานใต้กับราชอาณาจักรกัมพูชา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Enhancement of the Border Checkpoints as the linkage of the Border Economic Cities Southern-Northeast Sub-region toward the Kingdom of Cambodia |
ผู้แต่ง: | สุธาทิพย์ ชวนะเวสสกุล |
Keywords: | การยกระดับด่านชายแดน เมืองเศรษฐกิจชายแดน อนุภูมิภาคอีสานใต้ การค้าชายแดน Enhancement of the border checkpoints border economic cities Southern-northeast sub-region Border trade |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
Abstract(TH): | ผลจากทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพของประเทศไทยส่งผลให้มูลค่าของการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะมูลค่าการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนของประเทศไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา ถือได้ว่ามีการขยายตัวมากที่สุดกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมดในภาพรวม และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแนวชายแดนด้านอีสานใต้มีจุดผ่านแดนถาวรและจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนถึง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ จึงควรมีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน หลังการเปิดอาเซียน และความสามารถในการเข้าถึงเมืองเศรษฐกิจชายแดนอนุภูมิภาคอีสานใต้กับราชอาณาจักรกัมพูชาจากโครงข่ายถนนในปัจจุบัน โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) วิเคราะห์โครงข่าย (Network analysis) ฟังก์ชันเขตการบริการ (Service area) ผลการศึกษาพบว่า 1) การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่อื่นๆ ในเมืองเศรษฐกิจชายแดนอนุภูมิภาคอีสานใต้ภายหลังการเปิดอาเซียน มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่พื้นที่อุตสาหกรรมและคลังสินค้า และพื้นที่ชุมชนเมืองและสิ่งปลูกสร้าง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด และ 2) การเชื่อมโยงด่านถาวรและจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนของเมืองเศรษฐกิจชายแดนอนุภูมิภาคอีสานใต้ คือ ถนนหมายเลข 24 โดยผ่านถนนสายรองและสายย่อยของจังหวัดบุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ ผ่านไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา คือถนนหมายเลข 6 ซึ่งเป็นระเบียงเศรษฐกิจใต้ และเป็นเส้นทางเพื่อเดินทางสู่เมืองสาคัญคือ เมืองเสียมราฐ เมืองมรดกโลกทางประวัติศาสตร์ และกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อการเดินทางและการขนส่งสินค้า โดยโครงข่ายการเชื่อมโยงเมืองอยู่ระยะทางไม่เกิน 150 กิโลเมตร ซึ่งสั้นกว่าระยะจากด่านชายแดนภาคตะวันออกของไทยที่ต้องใช้ระยะมากกว่า 200 กิโลเมตรในการเดินทางถึงเมืองเสียมราฐ |
บทคัดย่อ: | As result of the potential location of Thailand, it has effectted to increase the value of border trade with neighboring countries, especially the Kingdom of Cambodia. It had the greatest expansion and coutinue to increase in whole border trade of Thailand. With the Southern-Northeast Sub-region border, there were 2 permanent borders checkpoints and 1 temporary custom and border protevtion offices in 3 provinces; Burrirum, Surin, and Srisaket. Hence, after the ASEAN opened, aim to study in landuse of Border Economic Cities (Burirum-Surin-Srisaket) change and to find a service area from present network with the Kingdom of Cambodia. The methodology used Geographic Information System (GIS) analysis the road network and service area. The results showed that 1) the landuse of forest areas and misscellonus areas had trend to decreas. In industrial and warehouse areas and urban and communities. 2) the permanent borders checkpoints and temporary custom and border protevtion offices was the main road No. 24 in Thailand through the sub-road of Buriram-Surin-Sisaket province passed to the main road no. 6 of the Kingdom of Cambodia which is the Southern Economic Corridor and the path of travel. To the important cities were Siam Reap, the World heritage city and Phnom Penh, the capital city of Cambodia. By linkage network has exceeding 150 kilometers which shorter than the distance from Eastern border of Thailcnd that requires more than 200 kilometers to Siam Reap. |
รายละเอียด: | รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 9 |
URI: | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28474 |
Appears in Collections: | Geo-Conference paper |
Files in This Item:
File | Size | Format | |
---|---|---|---|
Geo-Con-Sutatip-C-smart9.pdf | 1.67 MB | View/Open |
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.