Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28461
Title: การสร้างอิทธิพลทางสังคม: กรณีศึกษาเจ้าพ่อรายหนึ่ง
Other Titles: Social Influencing: The Case Study of a Godfather
Authors: ปรีชญาณ์ นักฟ้อน
Keywords: เจ้าพ่อ
อิทธิพลทางสังคม
Godfather
Social Influence
Issue Date: 2562
Abstract(TH): การศึกษาเรื่อง “การสร้างอิทธิพลทางสังคม: กรณีศึกษาเจ้าพ่อรายหนึ่ง” ในครั้งนี้ มุ่งศึกษาภูมิหลัง พฤติกรรม ทัศนคติ และแนวทางการดำเนินชีวิตของผู้มีอิทธิพลรายหนึ่ง ตลอดจนศึกษาแนวทางในการสร้างอิทธิพลทางสังคมในระดับท้องถิ่น รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนที่นำไปสู่การขยายเครือข่ายเชิงอำนาจสู่การเมืองระดับชาติ โดยในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการศึกษาโดยใช้วิธีวิทยาแบบเรื่องเล่า (Narrative Research) แนวอัตชีวประวัติ โดยเป็นเรื่องราวของผู้มีอิทธิพลรายนี้เป็น “องค์ประธาน” ของการศึกษา ซึ่งพบว่า ด้วยการเติบโตมาในครอบครัวของผู้ที่มีอิทธิพลคือ คุณปู่และบิดา ประกอบกับด้วยลักษณะนิสัยส่วนตัวที่เป็น ‘คนจริง’ ทาให้เขาเลือกที่จะดำเนินชีวิตที่มุ่งเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตมากกว่าการศึกษาในชั้นเรียน จึงนำไปสู่การแสดงตัวตนในฐานะ ‘นักเลงถิ่น’ และสร้างการรับรู้และยอมรับในสังคมวงกว้างว่าเป็น ‘ผู้มีอิทธิพลถิ่น’ และด้วยความจริงใจ และมีน้าใจ ทำให้เขามีเพื่อนและลูกน้อง ตลอดจนได้รับความไว้วางใจจากผู้มีอำนาจในระดับประเทศ จนเริ่มสร้างเครือข่ายอำนาจและกลายเป็นรากฐานสำคัญที่ก้าวสู่การเป็นนักการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ตลอดระยะเวลาการทำงานในฐานะ “นักการเมือง” เขาได้พบเห็นและเรียนรู้วิถีทางการเมืองจากผู้คนที่หลากหลาย โดยวางบทบาทของตัวเองไว้ในฐานะ ‘ผู้แทน’ ของคนในจังหวัดเป็นหลัก มากกว่าการใช้โอกาสที่มีไปทาหน้าที่ฝ่ายบริหารในระดับประเทศ โดยมีความตั้งใจเดียวคือ ต้องการช่วยเหลือและดูแลคนในพื้นที่ของตนเอง เปรียบเสมือน ‘ผู้ปกป้องถิ่น’ ซึ่งเป็นบทบาทที่เขาทามาเป็นระยะเวลายาวนาน นอกจากนี้ แม้ว่าเขาจะมีภาพลักษณ์และถูกเรียกขานจากสื่อมวลชนว่าเป็น ‘เจ้าพ่อ’ แต่ด้วยลักษณะนิสัยการชอบช่วยเหลือผู้คน รวมทั้งด้วยการดำเนินวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายและเป็นไปเช่นเดียวกับคนในพื้นที่ จึงทำให้คนกลายเป็น ‘ผู้มีอิทธิพล’ ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย และเป็น ‘ที่พึ่งพิง’ ของคนในพื้นที่ มิใช่เพียงการใช้ออำนาจเงินในการสร้างอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น แม้วันนี้บทบาทและอำนาจที่เป็นทางการของเขาจะลดทอนลงไปตามกาลเวลา ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเมือง และวัยที่เปลี่ยนไปของตัวเขาเอง แต่ภาพของการแสดงออกถึงความเคารพจากเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ หรือการเข้ามาขอความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ของคนในพื้นที่ ย่อมแสดงให้เห็นถึง ‘บารมี’ ที่สร้างจากตัวตนของเขาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาว่ายังคงอยู่ ซึ่งสะท้อนจากมุมมองของคนในสังคมที่ยังให้ความเคารพ และมองเห็นเขาเป็น ‘ที่พึ่งพิง’ ไม่ต่างจากช่วงเวลาที่เขายังอยู่ในสถานะและตำแหน่งที่มีอำนาจและอิทธิพลทางสังคมเช่นเดียวกับในอดีต
Abstract: The study “Building Social Influence: The Case Study of a Godfather,” was aimed at exploring the background, behavior, attitudes, and lifestyle of an influential person; explaining how to build local social influence; and discussing the supporting factors in the expansion of power networks into national politics. This study was based on narrative research, which provided a biography of this individual, who was the ‘subject’ of this study. His story showed that because he was brought up in a family of influential people, who included his grandfather and father, and the fact that he was a ‘serious’ person, all made him choose to lead his life based on his own experiences rather than classroom education. This resulted in him describing himself as a ‘local hoodlum,’ and this created a wide public perception and recognition that he was a ‘local influential person.’ His sincerity and generosity allowed him to have a lot of friends and followers and gained the trust of national authorities. Thus, he was able to establish his power networks, and this paved the foundation of his local and national political career. Throughout his working life as a ‘politician,’ he witnessed and learned about the political path from various people. He positioned himself into the role of a ‘representative’ of the people in his province, rather than as a representative of the national administration. His only intention was to provide his local people assistance and care, like ‘a local safeguard,’ which was a role he played for many years. Despite his image and the name ‘godfather’ given to him by the mass media, his generosity and simple lifestyle that was not different from that of other local people, he became an ‘influential person,’ someone who was easy to access and a ‘refuge’ for the local people. Despite his diminishing official role and authority over time, social and political changes, and elderly age, the expressions of local authorities showing their respect for him and the fact that local people approached him to ask for help showed his ‘charisma,’ which developed from his identity over the past decades. This was reflected through the fact that local people still respected him and regarded him as a ‘refuge,’ the same as they did in the past when he held a position that provided him with full power and influence.
Description: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 9
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28461
Appears in Collections:Pol-Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
Pol-Con-Prechaya-N-smart9.pdf517.85 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.