Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28420
ชื่อเรื่อง: การศึกษาทัศนคติของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อปัญหาคอร์รัปชัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Study of Attitudes of University’s Student towards Corruption
ผู้แต่ง: เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ
Keywords: ทัศนคติ
คอร์รัปชัน
นักศึกษา
Attitude
Corruption
University’s Students
วันที่เผยแพร่: 2558
Abstract(TH): การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาทัศนคติ ความคิดเห็น และมุมมองของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อปัญหาการคอร์รัปชัน และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของนิสิตนักศึกษาเกี่ยวกับการคอร์รัปชัน ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้และการปลูกฝังให้นิสิตนักศึกษามีจิตสานึกและความรับผิดชอบต่อสังคม และเพื่อหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการเรียนการสอนในเรื่องจริยธรรมของนิสิตนักศึกษาให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม ซึ่งมีนิสิตที่ตอบแบบสอบถามจานวนทั้งสิ้น 408 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. นิสิตมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการคอร์รัปชัน มีความรู้เกี่ยวกับการคอร์รัปชัน (รู้สาเหตุและพฤติกรรมใดที่ถือว่าเป็นการคอร์รัปชัน) และมีทัศนคติเกี่ยวกับการคอร์รัปชันอยู่ในระดับมาก มีการรับรู้พฤติกรรมการคอร์รัปชันในระดับปานกลาง ให้ความสาคัญกับการปลูกฝังปัญหาของการคอร์รัปชันของมหาวิทยาลัยในระดับปานกลาง ต้องการให้มหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาคอรัปชันและต้องการให้ภาครัฐแก้ไขปัญหาคอรัปชันในระดับมาก 2. ผลการวิจัยในด้านปัจจัยทางชีวสังคมและภูมิหลัง (เพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษาและสาขาวิชาที่ศึกษา) และปัจจัยด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการคอร์รัปชัน (เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการคอร์รัปชัน) ไม่ส่งผลให้นิสิตมีทัศนคติต่อปัญหาการคอร์รัปชันที่แตกต่างกัน 3. ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านการมีความรู้เกี่ยวกับการคอร์รัปชัน ทาให้เกิดความแตกต่างของทัศนคติ โดยนิสิตที่มีความรู้เรื่องสาเหตุของการทาให้เกิดการคอร์รัปชันและไม่รู้สาเหตุของการคอร์รัปชัน มีความแตกต่างในทัศนคติที่มีต่อปัญหาการ คอร์รัปชันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -5.81) สาหรับความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่คิดว่าเป็นการคอร์รัปชันนั้น พบว่านิสิตที่มีความรู้ว่าพฤติกรรมใดเป็นการคอร์รัปชันและไม่รู้ว่าพฤติกรรมใดเป็นการคอร์รัปชันนั้น มีความแตกต่างในทัศนคติที่มีต่อปัญหาการคอร์รัปชันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -2.71) ผลการศึกษาได้แนวทางในการเสริมสร้างทัศนคติเพื่อให้นิสิตนักศึกษาเกิดทัศนคติที่เห็นว่าการคอร์รัปชันเป็นภัยต่อประเทศชาติและเป็นอุปสรรคของการพัฒนาประเทศ คือ ในส่วนของมหาวิทยาลัย มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) มหาวิทยาลัยควรประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการคอร์รัปชัน ผลกระทบของการคอร์รัปชัน มาตรการทางกฎหมายต่างๆ ตลอดจนรณรงค์และจัดกิจกรรมต่อต้านการคอร์รัปชันให้นิสิตและบุคคลภายนอกที่อยู่บริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัยทราบ (2) มหาวิทยาลัยควรบรรจุวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการคอร์รัปชัน และผลกระทบของการคอร์รัปชัน ให้เป็นวิชาพื้นฐานที่นิสิตทุกคนต้องเรียนในทุกหลักสูตรและทุกคณะ หากไม่สามารถทาได้ อาจารย์ผู้สอนควรสอดแทรกแนวความคิดและชี้ให้เห็นผลกระทบของการคอร์รัปชันไว้บ้าง และ (3) มหาวิทยาลัยควรเปิดช่องหรือเป็นสื่อกลางในการรับเรื่องร้องเรียนปัญหาการคอร์รัปชันเพื่อส่งต่อไปให้หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบต่อไป ข้อเสนอแนะในส่วนของภาครัฐ คือ (1) หน่วยงานภาครัฐควรอบรมสร้างจิตสานึกให้แก่บุคลากรภาครัฐ นิสิตนักศึกษาและประชาชนทั่วไป เพื่อให้ทราบปัญหาและผลกระทบของการคอร์รัปชัน ตลอดจนรณรงค์และจัดกิจกรรมต่อต้านการคอร์รัปชันอย่างต่อเนื่อง (2) หน่วยงานภาครัฐควรส่งเสริมให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายในการตรวจสอบการทุจริต และควรใส่ใจต่อการร้องเรียนและรักษาความลับของผู้ร้องเรียน และ (3) ควรเพิ่มโทษสาหรับผู้ที่คอร์รัปชันและควรมีการบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดกว่าเดิม
บทคัดย่อ: This research aims at studying attitudes and viewpoints of university’s students towards corruption and examining factors which can cause students to have different attitudes in order to draw lessons and develop learning skill and cultivate students about attitudes towards corruption. Survey among Srinakharinwirot Universtity’s students who were attending bachelor degree. The sample group was 408 students who were randomly selected. The results are as follows: 1. The students receive information about corruption problem, have knowledge and understand causes of corruption and can differentiate which behavior or action means corruption, and have attitudes toward corruption at the high level. The students acknowledge corruption’s behavior at the moderate level. The students consider that the university should cultivate corruption problems at the moderate level. The students want the university to take part in solving corruption problems and want government agencies to solve corruption problem at the high level. 2. Demographic survey reveals that student with different genders, age, educational levels, and fields of study have no different attitudes towards corruptions. The acknowledgement of information related to corruption such as participating in activities relating to corruption also cannot cause students to have different attitude towards corruption. 3. Research result reveals that having knowledge about corruption can cause students to have same attitudes towards corruption at a significant level of .05 (t = -5.81). Moreover, knowing which actions or behaviors are considered as corruption can also cause students to have same attitudes towards corruption at a significant level of .05 (t = 2.71). The research results create guidelines for building attitudes of students relating to corruption problems in two parts. First, university shall (1) publish or disseminate information, knowledge, and effect of corruption to students, people and society around university and shall hold activities and campaign related to corruption; (2) contain subjects related to corruption in every faculty or encourage lecturers to cultivate corruption problems to students; and (3) shall be a media or center to receive complaints about corruption and then pass through related government agencies. As for recommendations under government agencies part, this research suggests that government agencies shall (1) disseminate, publish information and hold activities and campaigns about disasters of corruption to government officers, people and students so that they can understand and know effect of corruption; (2) encourage people participation in examining and keeping eyes on corruption and (3) be interested in the complaints made by people and shall keep complainer to be in secret, and (4) increase law enforcement and enforce law seriously.
รายละเอียด: การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTs ครั้งที่ 5
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28420
Appears in Collections:Soc-Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
Soc-Con-Petcharat-S-smart5.pdf612.94 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.