Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28415
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วและตาแหน่งที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ |
Other Titles: | Analyze the Risk Areas and Compare the Areas with the Accident Reports |
Authors: | ทิพยาพร นิลวิเชียร มาฆ วจนะวิศาล กัญญา ชื่นชม สิรภพ พ้นภัย หฤษฎ์ โคกผา |
Keywords: | อุบัติเหตุจราจร รถเมล์ GPS |
Issue Date: | 2558 |
Abstract(TH): | การวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วและตำแหน่งที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารประจำทางสาย 8 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ในการหาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและเปรียบเทียบกับข่าวที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารประจำทางสาย 8 โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อค้นหาข้อมูลเบื้องต้น เพื่อตรวจสอบยืนยัน ข้อมูลตามสถานการณ์จริงในจุดเสี่ยงที่มีความเร็วรถสูง และตรวจสอบลักษณะทางกายภาพเปรียบเทียบกับพื้นที่ที่เคยเกิดอุบัติเหตุ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อตรวจสอบความเร็วของรถโดยสารประจำทางสาย 8 โดยใช้เครื่องมือ ระบบกาหนดตำแหน่งบนโลก หรือจีพีเอส (Global Positioning System: GPS) ในการเก็บค่าข้อมูลแบ่งเป็นช่วงเวลาเช้าและช่วงเวลาค่า หาความเร็วเฉลี่ยรถโดยสารประจำทางสาย 8 ในแต่ละช่วงที่กำหนด (20 ช่วง) ตั้งค่าการบันทึกทุกๆ 10 วินาที หาค่าอัตราเร็วเฉลี่ยของรถโดยสารฯ ในแต่ละช่วงด้วยโปรแกรม Arcmap นาไปเปรียบเทียบกับพื้นที่ที่เคยเกิดอุบัติเหตุร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านกายภาพของถนน สภาพการจราจรที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ นำผลที่ได้ไปใช้เพื่อวางแนวทางแก้ไขป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุต่อไป จากการวิจัยพบว่าอุบัติเหตุที่เกิดพบบริเวณถนนลาดพร้าวและถนนพหลโยธิน (ช่วง สถานี BTS) ซึ่งช่วงถนนดังกล่าวรถประจำทางสาย 8 มีความเร็วเฉลี่ยไม่เกิน 30 กม./ชม. อยู่ในช่วงความเร็วเฉลี่ยต่ำถึงปานกลางสัมพันธ์กับปัจจัยทางกายภาพที่เกี่ยวข้องได้แก่ ขนาดและจำนวนช่องทางเดินรถที่แคบและน้อย (ไม่เกิน 3 ช่องทางวิ่ง) ประกอบกับบริเวณดังกล่าวมีการจราจรหนาแน่นมาก มีทางร่วมทางแยกจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนช่องทางเดินรถอย่างกระทันหันเพื่อทำเวลาชดเชยการจราจรที่ติดขัด ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าช่วงถนนอื่นๆ ที่สามารถใช้ความเร็วได้สูงกว่า เนื่องจากการจราจรที่คล่องตัวกว่า |
Abstract: | The purposes of this study were to analyze the risk areas and compare the areas with the accident reports of The Bus Number8. The relationship between speed and position which could be risk of accidents were collected from The Bus No.8. Verifying the areas which had accidents were used the research process to find information and check it according to actual situation where the bus had high speed. To investigate, the Global Positioning System: GPS were necessary for testing the bus’ speed. It had been used to collect data in the morning and evening. Finding ranges of speed was calculated by DNR Garmin which had been set to save range of the road in every 10 seconds at a point. The data from DNR Garmin was evaluated the buses’ average speed between points in each range of the road by ARC GIS programs. During the buses ran fast have more risk to accidents, so the information had been examined with the real accident areas. Then, we checked the physical factors of the street and traffic signs that may affect the accidents. The result can be used for achieve the correction and prevention, to reduce the accidents of The Bus No.8. The finding indicated that the calculating at ranges of high speed points as a result of the study about accident areas is associated with the accident report. Therefore, it is according to the hypothesis, the physical factors of the street and traffic signs are the results of the accidents. The statistics of accidents should be correct from every bus in order to evaluate and improve the security of transportation. |
Description: | การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTs ครั้งที่ 5 |
URI: | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28415 |
Appears in Collections: | Geo-Conference paper |
Files in This Item:
File | Size | Format | |
---|---|---|---|
Geo-Con-Tipyaporn-N-smart5.pdf | 714.94 kB | View/Open |
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.