Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28414
ชื่อเรื่อง: | ผลกระทบจากการเปิดเสรีประเทศเมียนมาร์ที่มีต่อชุมชน บริเวณด่านชายแดนตะวันตกของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Impact of Myanmar Liberalisation on Communities in Western Border Area of Thailand |
ผู้แต่ง: | สุธาทิพย์ ชวนะเวสสกุล ปกรณ์ เมฆแสงสวย |
Keywords: | การเปิดเสรี การเปลี่ยนแปลงชุมชน ด่านชายแดน Myanmar Liberalisation Communities Change Western Border Area of Thailand |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
Abstract(TH): | จากการเปิดเสรีประเทศเมียนมาร์ส่งผลให้ประเทศไทยและนานาประเทศให้ความสนใจเพื่อขยายฐานและแสวงหาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศไทยได้เปรียบกว่าประเทศอื่นๆ เพราะมีทำเลที่ตั้งซึ่งมีชายแดนติดต่อกับประเทศเมียนมาร์เป็นระยะทางยาวถึง 2,401 กิโลเมตร โดยเป็นแนวชายแดนด้านตะวันตกของไทยที่มีจุดผ่านแดนถาวรและจุดผ่อนปรนถึง 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงควรมีการสารวจลักษณะทางกายภาพและเศรษฐกิจของชุมชน และหาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชุมชนบริเวณด่านชายแดนตะวันตกของประเทศไทย โดยใช้วิธีสำรวจภาคสนาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า 1) จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีเพียงจุดผ่อนปรน 5 จุด แต่เมื่อเมียนมาร์เปิดเสรีส่งผลให้รัฐบาลไทยมีนโยบายยกระดับจุดผ่อนปรนบ้านห้วยต้นนุ่นเป็นด่านผ่านแดนถาวร เพราะเป็นเส้นทางที่มีระยะทางสั้นสามารถเข้าสู่ตอนเหนือของประเทศเมียนมาร์ได้สะดวก แต่ยังคงพบอุปสรรคด้านกายภาพของพื้นที่ที่เป็นเขาสูงและมีพื้นที่อ่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม 2) จังหวัดตากมีด่านผ่านแดนถาวร คือ ด่านแม่สอดมีความสะดวกในการเข้าถึง ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงประกาศให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทย แต่ยังคงต้องเร่งปรับปรุงและสร้างเส้นทางคมนาคมให้ได้มาตรฐานและรองรับปริมาณยานพาหนะที่เพิ่มขึ้น 3) จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีด่านผ่านแดนถาวรถึง 2 ด่าน คือด่านพระเจดีย์สามองค์และด่านบ้านพุน้าร้อน ซึ่งทั้งสองด่านของกาญจนบุรีสามารถเข้าถึงท่าเรือน้าลึกทวายของเมียนมาร์ได้สะดวกที่สุด แต่ด่านพระเจดีย์สามองค์อาจจะมีอุปสรรคมากกว่าด่านบ้านพุน้ำร้อนเนื่องจากสภาพทางกายภาพของการเข้าถึงด่านที่ต้องผ่านเส้นทางสูงชันและความมีสิทธิ์บนที่ดินเพื่อการพัฒนาบริเวณโดยรอบด่าน 4) ส่วนจังหวัดราชบุรีเป็นเพียงจุดผ่อนปรนที่ยังคงมีระดับมูลค่าการค้าทางเศรษฐกิจน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 4 พื้นที่ และเส้นทางเข้าถึงด่านไม่สะดวกและสภาพไม่เอื้ออำนวย พื้นที่ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสาธารณูปโภค ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการพัฒนาจำนวนมากเมื่อเทียบกับมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะได้รับ ทำให้ภาครัฐยังคงเป็นเพียงแนวคิดในการยกระดับจุดผ่อนปรน และ 5) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีด่านผ่านแดนถาวร คือด่านสิงขร ซึ่งแต่เดิมเป็นเส้นทางขนสินแร่อุตสาหกรรม แต่ปัจจุบันมีการระงับการขนสินแร่เปลี่ยนเป็นการขนไม้ซุงแทน และพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพกายภาพและเศรษฐกิจของชุมชนบริเวณชายแดน เนื่องมากจาก 1) นโยบายจากภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมให้ด่านชายแดนของประเทศไทยสามารถรองรับการเปิดเสรีพม่าและการเปิดอาเซียนได้ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการยกระดับจุดผ่อนปรน การขยายเวลาเปิด-ปิดด่านถาวร การประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อการค้าระหว่างประเทศไทย-เมียนมาร์ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามแนวชายแดนไทย 2) การพัฒนาด้านสาธารณูปโภคและเส้นทางคมนาคมขนส่ง 3) การค้าการลงทุนที่ภาครัฐมีการเจรจาตกลงความร่วมมือกันแบบรัฐต่อรัฐ 4) ด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีการจัดโครงการแลกเปลี่ยนร่วมกันตามโอกาส 5) ด้านความมั่นคงที่รัฐบาลเมียนมาร์มีเสถียรภาพมากขึ้น จากการเจรจรระหว่างรัฐบาลเมียนมาร์กับชนกลุ่มน้อยต่างๆ และ 6) ด้านสาธารณสุขที่ชาวเมียนมาร์มาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีการแพร่กระจายของโรคติดเชื้ออุบัติซ้าเกิดขึ้นอีกครั้ง ดังนั้น การศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีประเทศเมียนมาร์ที่มีต่อชุมชนบริเวณด่านชายแดนตะวันตกของประเทศไทย เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของชุมชนชายแดนตะวันตกของไทยในอนาคตที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นเมื่อประเทศเมียนมาร์มีการเปิดเสรีเพิ่มขึ้นและการเปิดอาเซียน |
บทคัดย่อ: | As a result of Myanmar’s liberalization is attracted many countries including Thailand in order to extend trading market. Notably, Thailand has a significant advantage over others countries in Myanmar case due to a connected area with 2,401 km along the western border. There are several permanent and temporary custom and border protection offices in five provinces; Mae Hongson, Tak, Kanchanaburi, Ratchaburi, and Prachuabkirikhan. Hence, the conventional survey for physical geography, economic questionnaires, and relevant social dimension are urgent needed for finding an impact on community change around the edge of Western Thailand. The results show that firstly, some temporary custom and border protection offices such as Hui-ton-nun became an officially permanent site after liberalization because it has a shortest route to northern Myanmar. Thus the physical geography, elevation and environment sensitivity in this area is still an obstacle. Secondly, Mae-sod permanent border office in Tak province is convenience to access therefore Thailand government promote this zone as special economic district. However, more transportation infrastructure is required to be standardizing for future traffic. Thirdly, Kanchanaburi has two permanents custom and border offices: Dain Pra-je-dee-sam-aong and Dain Ban-num-pu-ron which have the easiest access route to Dawei deep-sea port. Nevertheless, the land ownership along the road is an importance factor for travel accessibility which cause, Dain Pra-je-dee-sam-aong has less advantage than Dain Ban-num-pu-ron. Fourthly, trading value around Ratchaburi border protection site is very low comparing to others four provinces. The main reason is an inadequate infrastructure. For that reason, Ratchaburi custom is still a temporal office. Lastly, Prachuabkirikhan has a permanent site for custom inspection. It called Dain Sign-korn which is used to be a mining transportation route for industry yet it became the route for logging transport now. The outcome of this study also revealed that there are several aspects which affect a change in physical geography and economy of communities along country border. To illustrate, firstly, government has strategies such as open longer hours for border market trading, build up Thai-Myanmar special district, and develop tourism sites on country edge. Secondly, there are the development on basic infrastructures and transportation routes. Thirdly, State-to-state investment is established. Fourthly, it has been the co-project for social and culture exchange program. Fifthly, there is a better stabilize on Myanmar government with Anzac groups. Finally, the reemerging infectious disease is increasing due to attend more on public health services. Consequently, the study of impact of Myanmar liberalization on the western Thailand communities will provide a significant role for Thai government to develop trading strategy along west side. In addition, Thailand should be prepared for the change and adaptation after join ASEAN in the future. |
รายละเอียด: | การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTs ครั้งที่ 5 |
URI: | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28414 |
Appears in Collections: | Geo-Conference paper |
Files in This Item:
File | Size | Format | |
---|---|---|---|
Geo-Con-Suthatip-C-smart5.pdf | 691.46 kB | View/Open |
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.