Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28403
Title: กบฏผู้มีบุญในภาคอีสาน ระหว่างพ.ศ. 2479 – 2502 : กรณี หมอลาโสภา พลตรี พ.ศ. 2482
Other Titles: Holy Men’s Rebellions in the Northeast Between 1936-1959: the Case of Mor Lam Sopa Pontri in 1939
Authors: ศศิธร คงจันทร์
Keywords: กบฏผู้มีบุญ
การครอบงำทางวัฒนธรรม
หมอลำโสภา พลตรี
Holy Men’s Rebellions
Cultural Hegemony
Mor Lam Sopa Pontri
Issue Date: 2558
Abstract(TH): กบฏผู้มีบุญ เกิดขึ้น 3 ครั้ง ระหว่างพ.ศ. 2479 - 2502 โดยในช่วงพ.ศ. 2482 เหตุการณ์กบฏผู้มีบุญที่เกิดขึ้นในภาคอีสานมีผู้นา คือ หมอลาโสภา พลตรี เกิดขึ้นที่บ้านสาวะถี ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ในการต่อต้านอานาจรัฐอย่างชัดเจน เนื่องจากรัฐส่วนกลางได้พยายามรวมศูนย์อานาจจากหัวเมืองต่างๆ ไว้ที่ส่วนกลาง โดยเฉพาะในภาคอีสาน รัฐได้พยายามอย่างหนักด้วยวิธีการ “ครอบงาทางวัฒนธรรม” โดยการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ ที่ต้องให้ราษฎรทุกคนที่อายุถึงเกณฑ์ต้องเรียนหนังสือไทย เพื่อเป็นการทาให้ราษฎรในหัวเมืองเกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องการเก็บภาษีที่ดิน และกฎหมายป่าไม้ หมอลาโสภาได้ตระหนักถึงความไม่พอใจที่ชาวอีสานมีต่อรัฐส่วนกลาง จึงได้นาเรื่องการครอบงาทางวัฒนธรรมจากส่วนกลาง และการกดขี่ของข้าราชการไปร้องเป็นเพลงหมอลาให้ชาวบ้านฟังเป็นประจา เพื่อที่จะปลุกระดมให้ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาในตนเอง และเข้าร่วมกลุ่มเพื่อต่อต้านอานาจรัฐส่วนกลาง การเคลื่อนไหวของหมอลาโสภาได้รับความศรัทธาจากราษฎรเป็นจานวนมาก ซึ่งเมื่อทางการทราบข่าวการเคลื่อนไหวก็เกิดความหวาดระแวงและเกรงว่าเหตุการณ์จะลุกลามและมีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐได้ จึงได้นาไปสู่การจับกุมหมอลาโสภาและพรรคพวกไปคุมขังไว้ 15 วัน แล้วจึงปล่อยตัว แต่การถูกจับครั้งนี้ไม่ได้ทาให้หมอลาโสภาเกรงกลัวแต่อย่างไร หมอลาโสภายังคงชอบพูดถึงเรื่องการครอบงาและการกดขี่ของรัฐส่วนกลางอยู่เช่นเคย จนทาให้เกิดการจับกุมครั้งที่ 2 พร้อมกับข้อหา “กบฏ” หมอลาโสภาและแกนนาถูกพิพากษาให้จาคุกตลอดชีวิต แต่ศาลลดโทษให้เหลือจาคุก 16 ปี จากเหตุการณ์กบฏหมอลำโสภาสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่ราษฎรอีสานต้องประสบกับความยากลำบาก ซึ่งปัจจัยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐที่เข้าไปควบคุมวิถีชีวิตของราษฎรอีสาน โดยไม่ได้ผ่านการทำความเข้าใจกับราษฎรเท่าที่ควร จนทำให้ราษฎรไม่สามารถปรับตัวได้ทันและไม่อาจยอมรับอำนาจรัฐส่วนกลางได้ ด้วยลักษณะเช่นนี้จึงทาให้การต่อต้านอำนาจรัฐ ในรูปแบบกบฏผู้มีบุญจึงยังคงเกิดขึ้นในภาคอีสานจนกระทั่งถึงพ.ศ. 2502
Abstract: One of the three Holy Men’s rebellions taking place between 1936 – 1959 was led by Mor Lam Sopa Pontri at Sawathi Sub-district, Mueng District, Khon Kaen in 1939. It aimed at resisting the state authority clearly. In those days, the central government attempted to merge provincial authorities with the central authority. Particularly in the Northeastern region, the government made an effort by exerting ‘cultural domination’. The passing of the Elementary Education Act of 1921 was meant to force all inhabitants whose age met the requirement to enter a Thai school. The intention was to unify all people in provincial areas with those in the center. Moreover, there were issues of the imposition of land tax and the Forest Law stirring up. Mor Lam Sopa was aware of the dissatisfaction of the Northeastern people towards the central government. So, as a folksinger in Mor Lam style, his songs were often produced to attack cultural domination of the central government and oppression of the authorities. His motive for doing so was to encourage the inhabitants to have trust in him and then join a resistance movement against the central authority. The movement of Mor Lam Sopa got support of numerous inhabitants. Due to the government’s anxiety that the movement would be far-reaching and possibly affect the stability of the government, Mor Lam Sopa and his followers were, therefore, captured and detained for 15 days. The seizure did not frighten him. He still criticized the government’s domination and oppression. Consequently, Mor Lam Sopa and the uprising leaders were sentenced to life imprisonment after the second arrest and were charged with ‘treason’. However, the court finally mitigated the sentence to 16 years. The rebellion of Mor Lam Sopa indeed reflects the misery of Northeastern people as the government would like to control their life regardless of mutual understanding. This resulted in the inadaptability of local people and their refusal to the central authority. Holy Men’s rebellions therefore still occurred in this region until 1959.
Description: การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTs ครั้งที่ 5
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28403
Appears in Collections:His-Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
His-Con-Sasitorn-K-smart5.pdf637.5 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.