Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28400
Title: แนวทางการพัฒนาสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานครเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
Advisor : กฤติกา สายณะรัตร์ชัย
Authors: จินตพร พิสัยพันธ์
เทพรัตน์ แก้วเกตุ
ธัญพร หาญเจริญ
บุษรินทร์ ภูวดลไพโรจน์
พรรณมณฑ์ ยิ่งเจริญ
ศุภวุฒิ อ้นทนิกูล
ศุภางครัตน์ ยันตรีสิงห์
อธิชา จันทร์จำรัส
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
สวนสาธารณะ
กรุงเทพมหานคร
Health tourism
Bangkok Public Park
Issue Date: 2560
Publisher: คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในสวนสาธารณะ ในกรุงเทพมหานคร และแนวทางการพัฒนาสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานครเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยเชิงสุขภาพที่เข้ามาใช้งานสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ผลวิจัยพบว่า 1.ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสวนสาธารณะขนาดเล็ก ในกรุงเทพมหานครเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้าน สิ่งอำนวยความสะดวก (xˉ = 3.16, S.D. = 0.598) และด้านความปลอดภัย ( xˉ= 3.16, S.D. = 0.740) 2. ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสวนสาธารณะขนาดกลาง ในกรุงเทพมหานครเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (xˉ = 3.86, S.D. = 0.523) และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ( xˉ= 3.60, S.D. = 0.543) 3. ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสวนสาธารณะขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (xˉ = 3.98, S.D. = 0.580) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ( xˉ= 3.71, S.D. = 0.560) และด้านความปลอดภัย (xˉ = 3.56, S.D. = 0.657)
Abstract: The objectives of this research were to study health tourism behaviors in Bangkok Public Park and the development guideline of Bangkok Public Park to promote health tourism. The samples were 400 Thai tourist respondents who visited Bangkok Public Park. A questionnaire was used as a survey tool and data were analyzed statistically using frequency, percentage, mean (x̅) and standard deviation (S.D.). The results were as followed; 1. The opinion of respondents on development guideline of small public park in Bangkok to promote health tourism were ranked at moderate level of aspects namely facilities (x̅= 3.16, S.D. = 0.598) and safety (x̅= 3.16, S.D. = 0.740) respectively 2. The opinion of respondents on development guideline of medium public park in Bangkok to promote health tourism were ranked at high level of aspects namely health tourism promotion (x̅= 3.86, S.D. = 0.523) and facilities (x̅= 3.60, S.D. = 0.543) respectively 3. The opinion of respondents on development guideline of large Public Park in Bangkok to promote health tourism were ranked at high level of all aspects namely Health tourism Promotion (x̅= 3.98, S.D. = 0.580), Facilities (x̅= 3.71, S.D. = 0.560) and Safety (x̅= 3.56, S.D. = 0.657) respectively
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28400
Appears in Collections:Ece - Senior Projects

Files in This Item:
File SizeFormat 
Ece-Jintaporn-P-2560.pdf3.46 MBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.