Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28388
Title: | แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยในพื้นที่เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี |
Other Titles: | The Management Guideline for Adventure Tourism in Ko Lan, Chonburi |
Authors: | พิมพ์ญาดา ควรเนตร ศิริกาญจน์ ป้องแล้ง กิ่งกนก เสาวภาวงศ์ |
Keywords: | การจัดการการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย เกาะล้าน ชลบุรี Tourism Management Adventure Tourism Ko Lan Chonburi |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Abstract(TH): | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงผจญภัยในพื้นที่เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี และเพื่อเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยในพื้นที่เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบ ผสมผสาน (Mixed-Method Research) ระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบ สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยเก็บรวบรวมแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวจำนวน 385 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างผ่านการ คำนวณสูตรของคอแครน (Cochran, 1977) โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ มีการตรวจสอบค่าความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่า เท่ากับ 0.77 และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคได้ค่าเท่ากับ 0.85 ผู้วิจัยได้ดำเนินการ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยของเกาะล้านจำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20 – 30 ปี อาชีพนักเรียนนักศึกษา สถานภาพโสด รายได้ 15,001 – 25,000 บาท นิยมนั่งพักผ่อนริมชายหาด มีเป้าหมายในการเดินทางเพื่อความสนุกสนาน มีการเตรียมความพร้อมใน การทำกิจกรรม ส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานยนต์เช่า สามารถรับความเสี่ยงในการทำกิจกรรมเชิงผจญภัยในระดับปานกลาง นิยม ทำกิจกรรมเชิงผจญภัยช่วงฤดูร้อน เดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดเทศกาล มีงบประมาณค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมเชิงผจญ ภัยประมาณ 1,001 – 2,000 บาท ท่องเที่ยวกับกลุ่มเพื่อน ทราบข้อมูลกิจกรรมเชิงผจญภัยจากสื่อสังคมออนไลน์ กิจกรรมเชิง ผจญภัยที่สนใจได้แก่ พายเรือคายัค เจ็ตสกี นั่งรถชมทัศนียภาพ และขี่จักรยานยนต์ชมทัศนียภาพ คาดหวังให้เกาะล้านมี ทัศนียภาพที่ดีและปลอดภัยเมื่อทากิจกรรมเชิงผจญภัย ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยที่เกาะล้านใน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. จากการสัมภาษณ์พบว่าสถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงผจญภัยในพื้นที่เกาะล้านกำลังฟื้นตัว มีกิจกรรมการ ท่องเที่ยวเชิงผจญภัยที่หลากหลายทั้งทางบกและทางน้ำ ควรมีการจัดการโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อ การท่องเที่ยว ในการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยควรคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและปัญหาขยะ 3. แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยในพื้นที่เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี สามารถจัดการได้ด้วยแนวทาง “FESTS” F – Facilities, E – Experience, S – Safety, T – Togetherness และ S – Sustainability |
Abstract: | The research was aimed to study the behaviours of adventure tourists in Ko Lan, Chonburi and to present guidelines for adventure tourism management in Ko Lan, Chonburi. This research was a Mixed-Method Research between quantitative and qualitative using questionnaires and semi-structured interviews. Collecting questionnaires from 385 tourists. By Cochran sampling techniques with accidental sampling techniques. The examination of content validity was 0.77 and reliability utilized Cronbach’s alpha was 0.85. For qualitative method, the semi - constructed interview was conducted with 5 experts on Ko Lan's adventure tourism, The research results showed that: 1. Most of the respondents were female, age between 20 – 30 years old, students, single. The average monthly income was 15,001-25,000 baht, preferred to relax on the beach. The goal of travel was for fun and there were preparations for activities. The respondents travelled with rental motorcycles and could take moderate risks in doing adventure activities. Preferred to travel during summer and holidays. The budget for adventure activities was about 1,001 – 2,000 baht per activity, travelled with a group of friends. Find out about adventure tourism from social media, interested in kayaking, jet skiing, scenic driving, and scenic bike riding. The respondent expected that Ko Lan could have a beautiful scenery and safety adventure activities. The level of opinion towards adventure tourism at Ko Lan in high level. 2. According to the interviews, the situation of adventure tourism in Ko Lan was recovering. There were variety adventure activities both land and marine. Tourism infrastructures and facilities should be managed. In adventure tourism management should concern about environment and garbage problems. 3. The management guideline for Adventure Tourism in Ko Lan, Chonburi can be presented with the “FESTS” approach F – Facilities, E – Experience, S – Safety, T – Togetherness and S – Sustainability. |
Description: | รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 “วิทยาการจัดการเทพสตรีวิชาการ” Proceedings of the 8th National Academic Conference “Thepsatri Management Science Academic Conference” วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 |
URI: | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28388 |
Appears in Collections: | Ece - Conference paper |
Files in This Item:
File | Size | Format | |
---|---|---|---|
Ece-Pimyada-K-2566.pdf | 224.81 kB | View/Open |
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.