Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28387
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พิมพ์ชนก จิตต์มั่นคงกุล | - |
dc.contributor.author | ศศิธร สมมาศ | - |
dc.contributor.author | ศรัญญา ศรีทอง | - |
dc.date.accessioned | 2023-06-02T02:48:37Z | - |
dc.date.available | 2023-06-02T02:48:37Z | - |
dc.date.issued | 2566 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28387 | - |
dc.description | รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 “วิทยาการจัดการเทพสตรีวิชาการ” Proceedings of the 8th National Academic Conference “Thepsatri Management Science Academic Conference” วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this research intend to 1) explore marine wastes that can be used to design souvenirs with recycled materials from the Ban Khun Samut Chin community. 2) study the needs of community members by creating souvenirs from recycled materials from the Ban Khun Samut Chin community. 3) design souvenirs made from recycled materials of the Ban Khun Samut Chin community. 4) explore tourists' satisfaction with souvenirs made from recycled materials in the Ban Khun Samut Chin community.This study was qualitative research focused on the participatory process between researchers and the Ban Khun Samut Chin community members by gathering data from interviewing 12 leaders and community members and 23 tourists. This information was then analyzed by transcription and concluding. The research results have discovered that marine wastes can be used to design souvenirs with recycled materials from the Ban Khun Samut Chin community's; fishing equipment such as fishing nets, nets, ropes, and buoys because these marine wastes are effective in designing souvenirs and help to use resources effectively and reduce environmental impacts, lead to the production of souvenirs in the form of bags that were made of fish nets. Each production process from the Ban Khun Samut Chin community will not harm the community’s environment, nor will generate residues and the design of souvenirs must be beautiful, durable, and easy to maintain. The community aimed to raise awareness among tourists, rather than profit from souvenirs, and the feedback from the satisfaction of tourists with recycled souvenirs in the Ban Khun Samut Chin community was positive. Tourists unanimously commented that the idea of using recycled materials to design souvenirs was creative because it helped to reduce marine waste, protect community resources, and achieve sustainable development. The production process of souvenirs will not cause harmful residues to customers. In terms of use, tourists commented that it can be used repeatedly because of its beauty and durability. If it is damaged, the users can repair it easily, and more importantly, they can feel the environmental awareness conveyed by souvenirs. | - |
dc.language | th | - |
dc.publisher | คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | - |
dc.subject | การออกแบบ | - |
dc.subject | สินค้าที่ระลึก | - |
dc.subject | รีไซเคิล | - |
dc.subject | Designing | - |
dc.subject | Souvenirs | - |
dc.subject | Recycle | - |
dc.title | การออกแบบสินค้าที่ระลึกจากวัสดุรีไซเคิลชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน | - |
dc.title.alternative | The recycle souvenirs’ design from Ban Khun Samut Chin Community | - |
dc.type | Working Paper | - |
dc.description.abstractthai | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจขยะทะเลที่สามารถนำมาออกแบบสินค้าที่ระลึกจากวัสดุรีไซเคิลชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน 2) เพื่อศึกษาความต้องการของสมาชิกชุมชนในการสร้างสรรค์สินค้าที่ระลึกจากวัสดุรีไซเคิลชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน 3) เพื่อออกแบบสินค้าที่ระลึกจากวัสดุรีไซเคิลชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน 4) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสินค้าที่ระลึกจากวัสดุรีไซเคิลชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน งานวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างคณะผู้วิจัย และ ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่มผู้นำชุมชนและสมาชิกในชุมชนบ้านขุนสมุทรจีนจำนวน 12 คน และสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวจำนวน 23 คน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการถอดความและสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า ขยะทะเลที่สามารถนำมาออกแบบสินค้าที่ระลึกจากวัสดุรีไซเคิลชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ได้แก่ อุปกรณ์ประมง เช่น แห อวน เชือก และทุ่น เนื่องจากขยะทะเลเหล่านี้ มีประสิทธิภาพในการออกแบบเป็นสินค้าที่ระลึก เพื่อก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและจะทำให้สิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบน้อยที่สุด จึงนำมาสู่การผลิตสินค้าที่ระลึกในรูปแบบของกระเป๋า ที่ถูกพัฒนามาจากอวน โดยกระบวนการในการผลิตสินค้าที่ระลึกจากวัสดุรีไซเคิลชุมชนบ้านขุนสมุทรจีนในทุกขั้นตอนจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ลบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชน อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างในกระบวนการผลิต และการออกแบบสินค้าที่ระลึกต้องมีความสวยงาม ความทนทาน สามารถซ่อมแซมได้ง่าย โดยชุมชนจะมุ่งสร้างจิตสำนึกให้แก่นักท่องเที่ยวมากกว่าการทำกำไรจากตัวสินค้าที่ระลึก ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสินค้าที่ระลึกจากวัสดุรีไซเคิลชุมชนบ้านขุนสมุทรจีนเป็นไปในทิศทางที่ดี นักท่องเที่ยวแสดงความคิดเห็นตรงกันว่าแนวคิดในการออกแบบสินค้าที่ระลึกจากวัสดุรีไซเคิลชุมชนบ้านขุนสมุทรจีนมีความสร้างสรรค์ เนื่องจากช่วยลดปริมาณขยะทะเลและช่วยรักษาทรัพยากรในชุมชนให้มีความยั่งยืน และกระบวนการในการผลิตสินค้าที่ระลึกไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อร่างกายผู้ใช้งาน ในส่วนของการใช้งานนักท่องเที่ยวแสดงความคิดเห็นว่าสามารถใช้งานซ้ำได้บ่อยครั้ง เนื่องจากมีความสวยงามและมีความทนทาน หากชำรุดผู้ใช้งานสามารถซ่อมแซมได้โดยง่าย และที่สำคัญคือสามารถรับรู้ได้ถึงจิตสำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมที่ถ่ายทอดผ่านสินค้าที่ระลึก | - |
Appears in Collections: | Ece - Conference paper |
Files in This Item:
File | Size | Format | |
---|---|---|---|
Ece-Pimchanok-J-2566.pdf | 355.2 kB | View/Open |
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.