Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28375
ชื่อเรื่อง: การศึกษาแรงจูงใจต่อการทำเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกร ตำบลภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านของพ่อ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Study of Motivation for Organic Farming by Farmers Group in Phu Khao Thong Sub-District Phra Nakhon Si Ayutthaya Province a Case Study of Learning Center Fathers House
ผู้แต่ง: พรรณวิชชา ชื่นบาน
หทัยรัตน์ บุณโยปัษฎัมภ์
Keywords: เกษตรอินทรีย์
เศรษฐกิจพอเพียง
แรงจูงใจ
Organic farming
sufficiency economy
motivation
วันที่เผยแพร่: 2564
Abstract(TH): งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาแรงจูงใจต่อการทำเกษตรอินทรีย์และกระบวนการทำเกษตร อินทรีย์ของเกษตรกร ในศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านของพ่อ ตำบลภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมถึงเพื่อ ศึกษาผลที่ตามมาหลังจากการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการสัมภาษณ์เชิงลึกจาก เกษตรกรของศูนย์การเรียนรู้จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร คือปัญหา สุขภาพและลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมี ต่อมากระบวนการในการทำเกษตรอินทรย์พบว่าเจ้าหน้าที่ศูนย์การเรียนรู้มี กระบวนการการเรียนรู้มีความใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาในการหาข้อมูลเพื่อลงมือทำเกษตรอินทรีย์โดยเจ้าหน้าที่มีขั้นตอนในการทำเกษตร อินทรีย์ คือ การเลือกพื้นที่ การวางแผนป้องกันสารเคมีจากภายนอก การเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ การนำเมล็ดพันธุ์ที่ เลือกมาลงพื้นที่ที่เตรียมไว้ และสุดท้ายการบำรุงแปลงเกษตรด้วยน้ำหมักชีวภาพ ผลที่ตามมาหลังจากการทำเกษตรอินทรีย์ พบว่า เป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ทำให้เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนและหน่วยงาน มีชุมชนและอีกหลายหน่วยงานที่เข้า มาเรียนรู้ ทำให้คนในชุมชนและหน่วยงานที่เข้ามาเรียนรู้เกิดอาชีพเสริมจากการศึกษาในศูนย์และยังส่งผลให้บริเวณพื้นที่มี สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นผลมาจากการทำเกษตรอินทรีย์
บทคัดย่อ: This research There is a purpose in the study to study the motivation for organic farming and the organic farming of farmers. In Daddy's Home Sufficiency Economy Learning Center, Mt. Thong Subdistrict, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. In addition, to study the consequences after farmers' organic farming, using qualitative research methods in in-depth interviews from 10 farmers of the Learning Center, the study found that farmers' motivation for organic farming is health problems and reduces the cost of buying chemical fertilizers. Later, the process of intra-farming showed that the learning center staff had an ambition to learn how to find information to do organic farming. Choosing the right breed for the area Finally, the maintenance of agricultural plots with bio-fermented water. As a result, after organic farming, it was found that the use of the area was beneficial, making it acceptable for people in the community and agencies. There are many communities and agencies that come to learn. As a result, people in the community and agencies who come to learn are further employed by studying in the center and also resulting in a better environment as a result of organic farming.
รายละเอียด: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 10
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28375
Appears in Collections:Soc-Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
Soc-Con-Phanwitcha_C_smarts10-p538.pdf894.7 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.