Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28363
ชื่อเรื่อง: | พฤติกรรมและปัจจัยในการตัดสินใจดื่มน้ำผลไม้ทั่วไปและน้ำกล้วยหอม ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Behavior and decision-making factors in drinking fruits juice and banana juice of consumers in Bangkok Metropolitan Area |
ผู้แต่ง: | ผจงศักดิ์ หมวดสง |
Keywords: | พฤติกรรม ระดับการใช้ปัจจัย Behavior Using level of factors |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
Abstract(TH): | การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มน้ำผลไม้ทั่วไปของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อหาความสัมพันธ์ลักษณะประชากรกับพฤติกรรมการดื่มน้ำผลไม้ทั่วไป จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ รายได้ครอบครัวต่อเดือน ศึกษาปัจจัยในการดื่มน้ำผลไม้ทั่วไปของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ศึกษาเปรียบเทียบระดับการใช้ปัจจัยในการดื่มน้ำผลไม้ทั่วไปของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาระดับความชอบน้ำกล้วยหอมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ศึกษาพฤติกรรมการดื่มน้ำกล้วยหอมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อหาความสัมพันธ์ลักษณะประชากรกับพฤติกรรมการดื่มน้ำกล้วยหอม จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ รายได้ครอบครัวต่อเดือน ศึกษาปัจจัยในการดื่มน้ำกล้วยหอมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และศึกษาเปรียบเทียบระดับการใช้ปัจจัยในการดื่มน้ำกล้วยหอมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้บริโภค จำนวน 400 ตัวอย่าง ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ คะแนนค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์โดยการทดสอบค่าไคสแควร์ (chi-square) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะใช้การทดสอบรายคู่โดยใช้วิธี LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้บริโภคที่นิยมดื่มน้ำผลไม้ทั่วไปเป็นประจำ จะดื่มทุกวันโดยดื่มน้ำผลไม้ 100% น้ำผลไม้ทั่วไปที่ดื่มเป็นประจำ คือ น้ำส้ม โดยมีวัตถุประสงค์ในการดื่มเพื่อสุขภาพ ปริมาณที่ดื่มต่อครั้ง คือ 1 กล่อง (ประมาณ 200-300 มล.) ในการซื้อน้ำผลไม้ส่วนใหญ่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง นิยมซื้อแบบกล่องกระดาษ (ปริมาณ 200-300 มล.) จำนวนที่ซื้อต่อครั้ง 1 กล่อง/ กระป๋อง/ขวด ราคาที่ซื้อต่อครั้ง ต่ำกว่า 20 บาท สถานที่ซื้อ คือ ร้านสะดวกซื้อ ยี่ห้อที่ดื่มประจำได้แก่ ทิปโก้ และนิยมซื้อยี่ห้อเดิมเป็นประจำ 2. เพศ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการการดื่มน้ำผลไม้ทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับความถี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนยี่ห้อที่ซื้อเป็นประจำและสถานที่ซื้อเป็นประจำ มีความ สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนข้ออื่นๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. อายุ รายได้ครอบครัวต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มน้ำผลไม้ทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4. สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มน้ำผลไม้ทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ยกเว้นข้อปริมาณที่ดื่มเป็นประจำมีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5. ผู้บริโภคมีระดับการใช้ปัจจัยโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 6. ผู้บริโภคที่มีเพศต่างกันใช้ปัจจัยในการตัดสินใจดื่มน้ำผลไม้ทั่วไป ด้านผลิตภัณฑ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 7. ผู้บริโภคที่มีระดับอายุที่ต่างกันใช้ปัจจัยในการตัดสินในใจดื่มน้ำผลไม้ทั่วไป โดยรวม ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้านผลิตภัณฑ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 8. ผู้บริโภคที่มีสถานภาพสมรสต่างกัน ใช้ปัจจัยในการตัดสินใจดื่มน้ำผลไม้ทั่วไป โดยรวม ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนรายด้านอื่นๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 9. ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาต่างกันใช้ปัจจัยในการตัดสินใจดื่มน้ำผลไม้ทั่วไป แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 10. ผู้บริโภคที่มีอาชีพต่างกันใช้ปัจจัยในการตัดสินใจดื่มน้ำผลไม้ทั่วไป โดยรวม และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านราคา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนรายด้านอื่นๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 11. ผู้บริโภคที่มีระดับรายได้ครอบครัวต่อเดือนแตกต่างกันใช้ปัจจัยในการตัดสินใจดื่มน้ำผลไม้ทั่วไป โดยรวม ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านสงเสริมการตลาดแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 12. ผู้บริโภคให้ระดับความชอบน้ำกล้วยหอม ชอบโดยรวม และรายข้อกลิ่นมากที่สุด รองลงมารสชาติในเรื่องกลมกล่อมและรสหวาน อยู่ในระดับมาก 13. หากผู้บริโภคจะเลือกซื้อน้ำกล้วยหอมจะเลือกรสหวานมากที่สุด เหตุผลที่ซื้อเพราะรสชาติ และปริมาณที่ต้องการดื่มต่อครั้งคือ 200 - 300 มล. ราคา 15 บาท บรรจุในขวดแก้ว 14. เพศ อายุ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในส่วนของรสชาติของน้ำกล้วยหอมโดย มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนข้ออื่นๆ เพศ อายุ มีความสัมพันธ์ กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 15. สถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มน้ำกล้วยหอมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 16. ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัวต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ดื่มน้ำกล้วยหอม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 17. อาชีพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มน้ำกล้วยหอมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นในรายข้อเหตุผลที่ซื้อน้ำกล้วยหอม มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 18. ผู้บริโภคที่มีเพศต่างกันใช้ปัจจัยในการตัดสินใจดื่มน้ำกล้วยหอม โดยรวม และด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดย เพศหญิงใช้ปัจจัยดังกล่าวมากกว่าเพศชาย ส่วนด้านอื่นๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 19. ผู้บริโภคที่มีระดับอายุที่ต่างกันใช้ปัจจัยในการตัดสินใจดื่มน้ำกล้วยหอม ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนรายด้านอื่นๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 20. ผู้บริโภคที่มีสถานภาพสมรสต่างกันใช้ปัจจัยในการตัดสินใจดื่มน้ำกล้วยหอมในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนรายด้านอื่นๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 21. ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาต่างกันใช้ปัจจัยในการตัดสินใจดื่มน้ำกล้วยหอม โดยรวม ด้านราคา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ส่วนรายด้านอื่นๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 22. ผู้บริโภคที่มีอาชีพต่างกันมีระดับการใช้ปัจจัยในการตัดสินใจดื่มน้ำกล้วยหอม ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านราคาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนรายด้านอื่นๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 23. ผู้บริโภคที่มีระดับรายได้ของครอบครัวต่อ เดือนที่แตกต่างกันมีระดับการใช้ปัจจัย ในการตัดสินใจดื่มน้ำกล้วยหอม ด้านส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนรายด้านอื่นๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ |
บทคัดย่อ: | The purpose of this research are to study drinking behavior for fruits juice of consumers in Bangkok metropolitan area, to explore the correlation between drinking behavior for fruits juice and demographic aspects sort by gender, age, marital status, education level, occupation and monthly income of family, to examine decision-making factors in drinking fruits juice of consumers in Bangkok metropolitan area, to compare using level of decision-making factors in drinking fruits juice of consumers in Bangkok metropolitan area, to study appreciation level of banana juice of consumers in Bangkok metropolitan area, to study drinking behavior for banana juice of consumers in Bangkok metropolitan area, to explore the correlation between drinking behavior for banana juice and demographic aspects sort by gender, age, marital status, education level, occupation and monthly income of family, to examine decision-making factors in buying banana juice of consumers in Bangkok metropolitan area, and to compare using level of decision-making factors in buying banana juice of consumers in Bangkok metropolitan area. The sample of research were 400 consumers. Statistics used for data analysis included Percentage, Mean, Standard Deviation. Relationship was analyzed by Chi-square test. One-way Analysis of Variance was also applied and in case statistically significant difference was found, LSD (Least Significant Difference) was applied. Research findings indicated that : 1. Heavy consumers drank fruits juice everyday. They usually drank 100% fruits juice. Orange juice was favorite favor. The purpose of drinking was for good health. Drinking consumption per time was 200-300 ml. Most of the consumers made buying decision by themselves. They usually bought fruits juice at convenience store for 1 unit of tetra-pack which had net volume 200-300 ml. and retail price was less than 20 baht. Tipco was popular brand. They had brand loyalty. 2. Gender and drinking behavior for fruits juice in buying frequency aspect had correlation at statistical significance of 0.01 level. Meanwhile there were correlation between gender and usually buying brand / place aspect at statistical significance of 0.05 level. while other aspects showed no statistically significant difference. 3. There were correlation between age / monthly income of family and drinking behavior for fruits juice had correlation at statistical significance of 0.01 level. 4. There were correlation between marital status / education level / occupation and buying behavior for fruits juice at statistical significance of 0.01 level except drinking consumption aspect showed no statistical significance. 5. Consumers weighed their opinion toward overall and individual aspect of using level of decision-making factors in drinking fruits juice at high level of appropriateness. 6. Different gender gave opinion to decision-making factors in drinking fruits juice toward product aspect showing difference at statistical significance of 0.01 level and toward price and distribution channel aspect showing difference at statistical significance of 0.05 level. 7. Age difference showed different opinion to decision-making factors in drinking fruits juice toward price and distribution channel aspect at statistical significance of 0.01 level and toward product aspect showed difference at statistical significance of 0.05 level. 8. Difference in marital status gave opinion to decision-making factors in drinking fruits juice toward overall, product and price aspect showing difference at statistic significance of 0.05 level while other aspects showed no statistically significant difference. 9. Different education level gave opinion to decision-making factors in drinking fruits juice showed no statistical1y significant difference. 10. Occupation difference showed different opinion to decision-making factors in drinking fruits juice toward overall and distribution channel aspect at statistical significance of 0.01 level, toward price aspect showed difference at statistical significance of 0.05 level while other aspects showed no statistically significant difference. 11. Difference in monthly income of family gave opinion to decision-making factors in drinking fruits juice toward overall, price, distribution channel and marketing promotion aspect showing difference at statistical significance of 0.01 level. 12. Consumers weighted their opinion to satisfaction of taste toward overall and smell aspect in highest ranking, the next were delicious and sweet taste, they showed at high level of appropriateness. 13. If consumers choose to buy sweet favor of banana juice. The reason for buying was good taste. The consumer requirements included consumption per time was 200-300 ml., retail price was 15 baht and juice contained in glass bottle. 14. There were correlation between gender / age and drinking behavior for banana juice toward taste aspect at statistical significance of 0.01 level. Meanwhile gender / age and other aspects had correlation by no statistical significance. 15. There was correlation between marital status and drinking behavior for banana juice showed no statistical significance. 16. There were correlation between education level / monthly income of family and drinking behavior for banana juice at statistical significance of 0.01 level. 17. Occupation and drinking behavior for banana juice had correlation at statistical significance of 0.05 level except the reason for buying banana juice aspect showed no statistical significance. 18. Different gender gave opinion to decision-making factors in drinking banana juice toward overall, price and distribution channel aspect showing difference at statistical significance of 0.01 level. Female used these factors more than male while other aspects showing difference by no statistical significance. 19. Age difference showed different opinion to decision-making factors in drinking banana juice toward product and price aspect at statistical significance of 0.05 level while other aspects showed no statistical significance. 20. Difference in marital status showed different opinion to decision-making factors in drinking banana juice toward distribution channel aspect at statistical significance of 0.05 level while other aspects showed no statistical significance. 21. Difference in education level gave opinion to decision-making factors in drinking banana juice toward overall and price aspect showing difference at statistic significance of 0.05 level and toward distribution channel aspect showing difference at statistic significance of 0.01 level while other aspects showing difference by no statistical significance. 22. Different occupation gave opinion to decision-making factors in drinking banana juice toward distribution channel aspect showing difference at statistic significance of 0.01 level and toward price aspect showing difference at statistic significance of 0.05 level while other aspects showing difference by no statistical significance. 23. Difference in monthly income of family showed different opinion to decision-making factors in drinking banana juice toward marketing promotion aspect at statistical significance of 0.05 level while other aspects showed no statistical significance. |
รายละเอียด: | โครงการประชุมเวทีวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 2 |
URI: | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28363 |
Appears in Collections: | Bas-Conference paper |
Files in This Item:
File | Size | Format | |
---|---|---|---|
Bas-Con-Phachongsak_M.pdf | 243.16 kB | View/Open |
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.